ภาษาอังกฤษ/ไวยากรณ์/หน้าที่ของคำ/คำนาม
คำนาม (Nouns) หมายถึง คำที่เป็นชื่อของคน สัตว์ สิ่งของ สถานที่ รวมทั้งสิ่งที่เป็นนามธรรม
คน | Johny, Arabs |
---|---|
สัตว์ | cat |
สิ่งของ | chair |
สถานที่ | nation |
นามธรรม | goodness |
ชนิดคำนาม
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]- สามานยนาม (Common noun)
- วิสามานยนาม (Proper noun)
- สมุหนาม (Collective noun)
- วัตถุนาม (Material noun)
- อาการนาม (Abstract noun)
- นามผสม (Compound noun)
สามานยนาม
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]สามานยนาม หมายถึง นามที่เป็นชื่อทั่วไปของคน สัตว์ สิ่งของ และสถานที่ ไม่ได้ชี้เฉพาะเจาะจงลงไปว่าชื่ออะไร เช่น
- The man works in the garden. ผู้ชายทำงานอยู่ในสวน
- A cat is on the table. แมวอยู่บนโต๊ะ
วิสามานยนาม
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]วิสามานยนาม หมายถึง ชื่อที่หมายความถึงวัตถุเพียงอย่างเดียว ซึ่งอาจเป็นบุคคล สถานที่หรือสิ่งของ
วิสามานยนามจำกัดสิ่งของให้เป็นการใช้อย่างแคบ เช่น city (นคร) เป็นคำรวมที่ใช้กับสถานที่ประเภทเดียวกัน แต่ Bangkok เป็นชื่อของนครแห่งหนึ่ง และหมายความถึงนครแห่งนี้แห่งเดียว ทั้งนี้ แม้ว่าบางนครอย่างเช่น Bostons หรือ Manchesters จะมีหลายแห่งและปรากฏอยู่ในรูปพหูพจน์ แต่ชื่อที่ซ้ำกันนั้นก็ยังเป็นวิสามานยนามอยู่ (อาจระบุภายหลังว่า Boston, Massachusetts หรือ Manchester, England เป็นต้น)
สมุหนาม
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]สมุหนาม หมายถึง นามที่เป็นชื่อของหมู่คณะ ฝูง พวก กลุ่ม แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ ชนิดที่สมุหนามไปประกอบกับสามานยนามโดยมี of มาคั่น เพื่อให้เน้นความเป็นหมู่คณะนั้นชัดยิ่งขึ้น ตามโครงสร้างดังนี้
โครงสร้าง | Collective noun | of | Common noun | |
---|---|---|---|---|
ตัวอย่าง | A bunch | of | flowers | ดอกไม้ช่อหนึ่ง |
A cluster | of | stars | ดาวกลุ่มหนึ่ง |
(สังเกตว่า common noun ที่นำม่าใช้อยู่ในรูปพหูพจน์)
ส่วนอีกชนิดหนึ่งเป็น คำคำเดียวที่มีความหมายแสดงหมวดหมู่ กลุ่มก้อนในตัวมันเองอยู่แล้ว เช่น family ครอบครัว, army กองทัพบก, flock ฝูงสัตว์, jury คณะลูกขุน, cabinet คณะรัฐมนตรี เป็นต้น
วัตถุนาม
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]วัตถุนาม หมายถึง นามสามัญในแง่ที่ชื่อใช้กับทุกอนุภาคของสสารที่คล้ายกัน ไม่ได้หมายความถึงวัตถุโดด ๆ หรือแยกกัน เช่น glass, iron, clay, frost, rain, snow, wheat, wine, tea, sugar เป็นต้น
อาการนาม
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]อาการนาม หมายถึง นามที่เป็นชื่อของสภาวะ สถานะ คุณลักษณะ หรือการกระทำ โดยไม่มีความสัมพันธ์กับสิ่งที่เป็นรูปธรรม
เช่น เมื่อเราพูดถึง a wise man (ผู้มีภูมิปัญญา) เรารับรู้คุณสมบัติหรือคุณภาพในตัวบุคคลคนหนึ่ง แต่ถ้าเราต้องการอธิบายถึงคุณสมบัติหรือคุณภาพนั้นโดยไม่นึกถึงบุคคลไปด้วย แปลว่าเรากำลังกล่าวถึง wisdom (ภูมิปัญญา) ซึ่งเป็นอาการนาม หรือเป็นชื่อเรียกของคุณสมบัติหรือคุณภาพที่เป็นนามธรรม
อาการนามแบ่งได้เป็นสองกลุ่ม คือ
- Attribute nouns แสดงคุณภาพหรือคุณลักษณะหรือคุณภาพ มาจากคำคุณศัพท์ เช่น height จาก high, redness จาก red
- Verbal nouns บอกชื่อสถานะ สภาพหรือการกระทำ มาจากคำกริยา
Verbal nouns แบ่งตามที่มาอีกได้ 3 อย่าง
- (1) รูปเดียวกับคำกริยา เพียงแต่เปลี่ยนหน้าที่เท่านั้น เช่น "a long run" "a bold move," "a brisk walk."
- (2) เป็นการเปลี่ยนคำลงท้ายหรือเติมคำตามหลัง (suffix) เช่น motion จาก move, speech จาก speak, theft จาก thieve, action จาก act, service จาก serve
- (3) มาจากกริยาที่เติม -ing เข้ากับรูปฐาน ระวังสับสนกับ gerunds โดยให้ดูว่า verbal nouns ไม่ได้แสดงอาการ เพียงแต่เป็นชื่อเท่านั้น
- Sleeping at midday is necessary for a baby. การนอนหลับกลางวันเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับเด็ก
- John likes reading after dinner. จอห์นชอบอ่านหนังสือหลังทานอาหารค่ำ
นามผสม
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]นามผสม อาจแบ่งได้เป็นสองประเภท คือ
- คำที่ประสมเข้าเป็นคำเดียว เช่น courtyard, stepson
- กลุ่มคำที่ส่วนแรกเป็นคำหลัก แล้วนามต่อมาเป็นคำขยาย เช่น court-martial, father-in-law รายละเอียดการเปลี่ยนเป็นรูปพหูพจน์ ดูด้านล่าง
การใช้คำนามแบบพิเศษ
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]วิสามานยนามบางคำใช้เสมือนสามานยนามได้ในกรณีต่อไปนี้
- จุดกำเนิดของวัตถุใช้เป็นชื่อของวัตถุนั้นเอง เช่น china (เครื่องถ้วยกระเบื้อง)
- เป็นชื่อของคนหรือสถานที่ที่มีลักษณะบางประการที่ใช้บรรยายคนหรือสถานที่อื่นที่มีคุณสมบัติเดียวกัน เช่น a Hercules (หมายถึง คนที่มีพละกำลังมาก)
นามสามารถนำมาติดกับนามอีกคำหนึ่งโดยจะมีความหมายเพิ่มความหมายหรือคำอธิบาย (ทำหน้าที่เสมือนคุณศัพท์) ตัวอย่างเช่น
- a family quarrel (การทะเลาะในครอบครัว)
- a New York bank (ธนาคารนิวยอร์ก)
- a morning walk (การเดินยามเช้า)
คำหรือกลุ่มคำประเภทอื่นที่ใช้เป็นคำนาม
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]มีการนำคำหรือกลุ่มคำประเภทอื่นมาใช้เป็นนาม โดยมีที่มาจาก
- คำหน้าที่อื่น เช่น
- The great, the wealthy, fear thy blow.—Burns. หมายถึง ผู้ยิ่งใหญ่ ผู้มั่งมี
- Such are the words a brave should use.—Cooper. หมายถึง ผู้กล้า
- กลุ่มคำ เช่น
- Too swift arrives as tardy as too slow.—Shakespeare. หมายถึง คนที่มาเร็ว, คนที่มาช้า
นามนับไม่ได้ (Uncountable หรือ mass noun)
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]ในภาษาอังกฤษและอีกหลายภาษา นามนับไม่ได้หมายถึงคำนามที่มีคุณสมบัติที่ปริมาณใด ๆ ถือเป็นหน่วยที่แบ่งแยกไม่ได้ ไม่ใช่ส่วนย่อยที่แยกออกจากกันได้ มีแนวโน้มให้ใช้คำนามที่หมายถึงของเหลว (water, juice), ผงหรือเมล็ด (sugar, sand, rice), หรือสสาร (metal, wood) เป็นคำนามนับไม่ได้ คำนามนับไม่ได้ไม่มีการแบ่งเป็นเอกพจน์หรือพหูพจน์ แต่ใช้คู่กับรูปกริยาบุรุษที่ 3 เอกพจน์
คำนามนับไม่ได้ไม่สามารถใส่ตัวเลขด้านหน้าโดยตรงเพื่อบอกจำนวนได้ แต่ให้ใช้หน่วยวัดที่เจาะจง เช่น "20 litres of water" (ลองเทียบกับ 20 chairs)
คำนามบางคำเป็นได้ทั้งนามนับได้และนามนับไม่ได้ ตัวอย่างเช่น "wine"
- This is a good wine. นี่เป็นไวน์ที่ดี [หมายถึงไวน์ที่กำลังชิมหรือดื่มอยู่]
- I prefer red wine. ฉันชอบไวน์แดง [ชนิดของไวน์]
สองประโยคมีความหมายต่างกัน
อีกตัวอย่างหนึ่ง เช่น "cabbage"
- three cabbages
- three heads of cabbage
ข้างต้นสองบรรทัดมีความหมายเหมือนกัน
เอกพจน์และพหูพจน์
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]ในภาษาอังกฤษ อาจมีการเปลี่ยนรูปตามจำนวนพจน์ได้ คือ มีทั้งนามรูปเอกพจน์ (singular) และพหูพจน์ (plural) เอกพจน์หมายถึงนามเดียว ส่วนพหูพจน์หมายถึงนามตั้งแต่สองขึ้นไป
รายละเอียดของรูปเอกพจน์และพหูพจน์ของนามดูได้ในตารางด้านล่าง
รายละเอียด | เปรียบเทียบ | |
---|---|---|
รูปเอกพจน์ | รูปพหูพจน์ | |
คำนามส่วนใหญ่เปลี่ยนเป็นรูปพหูพจน์โดยเติม -s | girl dog |
girls dogs |
เติม -es แทน -s ในกรณีต่อไปนี้
|
box cross glass |
boxes crosses glasses |
|
ally fairy |
allies fairies |
|
knife shelf |
knives shelves |
|
volcano | volcanos, volcanoes |
คำนามบางคำเติม -en | ox child |
oxen children |
คำนามบางคำเปลี่ยนสระ | man foot mouse |
men feet mice |
คำยืมจากภาษาต่างประเทศมักมีการเปลี่ยนรูปแบบไม่ปกติ (irregular plural)
ภาษาละตินและกรีก
|
formula | formulae, formula |
|
index | indicies |
|
testis crisis ยกเว้น: polis (และคำที่มาจาก polis) |
testes crises poleis |
|
medium millennium |
media millennia, millenniums |
|
alumnus virus |
alumni viruses |
|
phenomenon | phenomena, phenomenons |
|
stigma | stigmata, stigmas |
คำยืมภาษาฝรั่งเศสบางคำเติม x | bureau | bureaux, bureaus |
คำยืมภาษาอิตาลี โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับเครื่องดนตรี คงรูปพหูพจน์ของภาษาอิตาลี | cello | celli |
คำยืมภาษาอื่นมีทั้งคงรูปพหูพจน์ตามภาษานั้น ๆ หรือเติม -s | oblast | oblasti, oblasts (ภาษาสลาฟ) |
นามผสมที่ส่วนแรกเป็นคำหลัก แล้วนามต่อมาเป็นคำขยาย (ดูด้านบน) เติม -s ที่นามตัวหน้า | court-martial son-in-law |
courts-martial sons-in-law |
คำนามบางคำมีรูปเอกพจน์และพหูพจน์รูปเดียวกัน | deer sheep |
deer sheep |
คำนามบางคำปกติเป็นเอกพจน์ แม้เขียนในรูปพหูพจน์ | คำกลุ่มสาขาวิชา: mathematics, politics, physics news, means |
— |
คำนามบางคำไม่มีรูปเอกพจน์เข้าคู่กัน (เป็นพหูพจน์เสมอ) | — | scissors, trousers, spectacles, assets |
คำนามบางคำมีรูปพหูพจน์หลายรูปซึ่งเปลี่ยนความหมายของคำ | — | cloths (ผ้าประเภทหนึ่ง), clothes (เครื่องนุ่งห่ม) |
การใช้เอกพจน์หรือพหูพจน์
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]ปริมาณศูนย์เป็นได้ทั้งเอกพจน์และพหูพจน์ แต่ถือเป็นพหูพจน์โดยปริยาย เช่น
- We have no bananas.
- We don't have any bananas.
จุดทศนิยมเป็นพหูพจน์เสมอ ส่วนเศษส่วนให้ดูเศษ (ดูที่ บท "จำนวน") เช่น
- 0.6 units
- 3.3 children per couple
ใช้รูปพหูพจน์กับคำที่ไม่มีรูปเอกพจน์ เช่น
- a glasses case หมายถึงกล่องใส่แว่นตา
- (ระวังสับสนกับ a glass case หมายถึงกล่องที่ทำจากแก้ว)
เพศของคำนาม
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]ในภาษาอังกฤษ คำนามสามารถมีได้ 2 เพศ คือ เพศชายหรือผู้ (masculine) และเพศหญิงหรือเมีย (feminine) เพศของคำนามบอกได้จาก
- คำเติมหน้า (Prefix) เช่น
- she-goat—he-goat, cock sparrow—hen sparrow
- คำเติมท้าย (Suffix) มักลงท้ายด้วย -ess เช่น
- lion—lioness, actor—actress
- คำที่รูปต่างกันโดยสิ้นเชิง แต่เป็นคำที่เข้าคู่กัน เช่น
- boy—girl, king—queen, bull—cow
หน้าที่ของคำนามในประโยค
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]หน้าที่ของคำนามในประโยคแบ่งได้เป็น กรรตุการก (nominative), กรรมการก (objective) และสัมพันธการก (possessive)
กรรตุการก
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]- เป็นประธานของกริยา
- เป็นนามภาคแสดง (predicate noun) หรือคำที่เติมกริยาให้สมบูรณ์ เช่น
- "A bent twig makes a crooked tree."
- วางข้าง (in apposition) นามกรรตุการกอื่น เป็นการเพิ่มความหมายของคำนั้น เช่น
- "The reaper Death with his sickle keen." (Death ขยาย the reaper)
- ใช้เมื่อกล่าวด้วยโดยตรง (direct address) เช่น
- "Lord Angus, thou hast lied!"
- ใช้กับ infinitive ในประโยคอุทาน เช่น
- "David to die!"
กรรมการก
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]- เป็นวัตถุโดยตรงหรือโดยอ้อมของกริยา
- เป็นการนิยามการกระทำของกริยาโดยระบุเวลา การวัด ระยะทาง เป็นต้น คล้ายกับคำวิเศษณ์ เช่น
- "Cowards die many times before their deaths."
- เป็นวัตถุที่สอง เป็นภาคแสดงที่เติมกริยาให้สมบูรณ์ (คือไม่ใช่สิ่งเดียวกับประธาน) เช่น
- "Time makes the worst enemies friends."
- เป็นวัตถุของบุพบท เช่น
- ""He must have a long spoon that would eat with the devil."
- วางข้างกรรมการกอื่น เช่น
- "The opinions of this junto were completely controlled by Nicholas Vedder, a patriarch of the village, and landlord of the inn."
สัมพันธการก
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]- สัมพันธการกวางข้าง (Appositional possessive) เทียบเท่ากับกรรมการกวางข้าง (appositional objective) เช่น
- The blind old man of Scio's rocky isle.—Byron (= the rocky isle of Scio)
- สัมพันธการกกรรม (Objective possessive) เทียบเท่ากับกรรมการกตามหลังกริยา เช่น
- "He passes to-day in building an air castle for to-morrow, or in writing yesterday's elegy."—Thackeray (= an elegy to commemorate yesterday)
- สัมพันธการกรรตุ (Subjective possessive) เทียบเท่ากับกรรตุการก เช่น
- The unwearied sun, from day to day,
- Does his Creator's power display.
- —Addison.
- หมายเหตุ
- บางครั้งละ s ในสัมพันธการกเอกพจน์ถ้าคำลงท้ายด้วยเสียงเสียดแทรก (hissing) แล้วเสียงเสียดแทรกอีกเสียงหนึ่งตามมา เหลือเฉพาะเครื่องหมายอะพอสทรอพี เช่น
- for goodness' sake
- ในวลีความซ้อน เติมอะพอสทรอพีหลังคำสุดท้าย เช่น
- They invited me in the emperor their master's name.—Swift.
- พบการใช้ double possessive ซึ่งมีเพื่อเน้นคำ หรือเพื่อเลี่ยงความกำกวม เช่น
- Besides these famous books of Scott's and Johnson's, there is a copious "Life" by Thomas Sheridan.—Thackeray
อ้างอิง
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]- ข้อความบางส่วนในหน้านี้ นำมาจากตำรา An English Grammar by W. M. Baskervill and J. W. Sewell, 1895. ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติ