ข้ามไปเนื้อหา

ภาษาบาลี/การสะกดและคำอ่าน

จาก วิกิตำรา

พยัญชนะและสระ

[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

อักษรภาษาบาลีนั้นเป็นอย่างไร ไม่มีใครรู้ เพราะได้สาบสูญไปนานมากแล้ว ในภายหลังเมื่อชนชาติใดจะนำภาษาบาลีไปใช้ ก็เพียงแต่นำเสียงหรือคำพูดไปใช้เท่านั้น วิธีการเขียนหรือสะกดก็จะเป็นเรื่องของชนชาตินั้นนำอักษรของตนไปใช้เอง ในที่นี้ขอแสดงการเขียนคำในภาษาบาลีด้วยอักษรไทยและอักษรโรมัน

เสียงพยัญชนะในภาษาบาลีมีอยู่ 33 ตัว และสระ 8 ตัวดังนี้

 ผัสสะนาสิก
อโฆษะ (ไม่ก้อง)โฆษะ (ก้อง)
สิถิล (เบา)ธนิต (หนัก)สิถิล (เบา)ธนิต (หนัก)สิถิล (เบา)
กัณฐชะ (วรรค กะ )
ก (k)
ข (kh)
ค (g)
ฆ (gh)
ง ()
ตาลุชะ (วรรค จะ )
จ (c)
ฉ (ch)
ช (j)
ฌ (jh)
ญ (ñ)
มุทธชะ (วรรค ฏะ )
ฏ ()
ฐ (ṭh)
ฑ ()
ฒ (ḍh)
ณ ()
ทันตชะ (วรรค ตะ )
ต (t)
ถ (th)
ท (d)
ธ (dh)
น (n)
โอฏฐชะ (วรรค ปะ )
ป (p)
ผ (ph)
พ (b)
ภ (bh)
ม (m)
ชั้นอักษร มัชฌะ (กลาง) อุตตมะ (สูง) สามัญญะ (ต่ำ)

มีพยัญชนะที่จัดเข้าวรรคไม่ได้อีกคือ อัฒสระ 4 ตัว ย, ร, ล, ว (y, r, l, v) และที่เหลือ ส, ฬ, ห, และ -ํ (นิคคหิต) (s, ḷ, h, ṁ) ดังตาราง

 อัฒสระอุสุมวิมุตติ
โฆษะ (ก้อง) อโฆษะ (ไม่ก้อง) โฆษะ (ก้อง)
สิถิล (เบา) ธนิต (หนัก) สิถิล (เบา)
กัณฐชะ (วรรค กะ )
ห (h)
-ํ (ṁ)
ตาลุชะ (วรรค จะ )
ย (y)
มุทธชะ (วรรค ฏะ )
ร (r)
ฬ (ḷ)
ทันตชะ (วรรค ตะ )
ล (l)
ส (s)
โอฏฐชะ (วรรค ปะ )
ว (v)

ตารางที่ 2 คือเศษวรรค

วรรณะ  สระในวรรณะ เศษวรรณะ
สีฆะ (สั้น) ทีฆะ (ยาว)
กัณฐชะ (วรรณะ อะ)

-ะ (a)

-า (ā)

ตาลุชะ (วรรณะ อิ)
-ิ (I)
-ี (ī)

เ- (e)

โอฏฐชะ (วรรณะ อุ)
-ุ (u)

-ู (ū)

โ- (o)

มีสระที่จัดเข้าวรรณะไม่ได้อีกคือ เศษวรรณะ 2 ตัว คือ เ- และ โ-

ช่องที่ 3 คือเศษวรรณะ

วิธีเขียนและอ่านออกเสียงในภาษาไทย(เช่น เอวนฺเตสุ อญฺญมญฺญํ สมฺโมทนียํ กถํ กเถนฺเตสุสกฺโก)อ่านคำในภาษาไทย(เช่น เอวันเตสุ อัญญมัญญัง สัมโมทนียัง กะถัง กเถนะเตสุ สักโก)

[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

การใช้ตัวอักษรไทยเขียนภาษาบาลีนั้นยังเขียนได้สองแบบ หนึ่งคือเขียนตัวอักษรตามเสียงพยัญชนะ (เช่น พุทฺธ, ธมฺม, พฺรหฺม) สองคือเขียนตามคำอ่านในภาษาไทย (เช่น พุทธะ, ธัมมะ, พ๎รัห๎มะ) ในที่นี้จะขอใช้ทั้งสองแบบ โดยจะใช้แบบแรกสำหรับการยกตัวอย่างคำบาลีในเนื้อหาบทเรียน และใช้แบบที่สองสำหรับคำบาลีที่จะเขียนในหัวข้อของบทเรียน

สำหรับการอ่านออกเสียงนั้น เนื่องจากเราใช้ตัวอักษรไทย เราก็คงจะทราบกันดีอยู่แล้วว่าแต่ละตัวจะต้องอ่านออกเสียงว่าอย่างไร ส่วนตัวนิคคหิตนั้น จะเป็นตัวเสียงนาสิก ออกเสียงคล้าย /อัง/ เช่น เขียนว่า พุทฺธํ อ่านว่า /พุทธัง/เอวนฺเตสุ อ่านว่า/

  1. การสะกดและคำอ่าน
  2. นามนาม (Nouns)
  3. คุณนาม (Adjectives)
  4. สัพนาม (Pronouns)
  5. อาขยาตหรือคำกริยา (Verbs)
  6. อัพยยศัพท์หรือศัพท์ที่ไม่ต้องผัน (Indeclinables)
  7. การสร้างคำ
  8. วากยสัมพันธ์ (Syntax)
  9. คำศัพท์ (Vocabulary)