ข้ามไปเนื้อหา

ภาษาอังกฤษ/ไวยากรณ์/หน้าที่ของคำ/คำคุณศัพท์

จาก วิกิตำรา

คำคุณศัพท์ (Adjectives) เป็นคำที่เติมกับคำนามเพื่อเพิ่มความหมาย เป็นการบอกคุณภาพของนาม เช่น สี ขนาด ตำแหน่ง จำนวน อยู่ใกล้หรืออยู่ไกล เพื่อให้ไม่มีใครเข้าใจผิด ใช้กับบุคคลและสิ่งของก็ได้ การชี้ชัดวัตถุก็ถือเป็นคำคุณศัพท์อย่างหนึ่ง เช่น this man, that house

คำสรรพนาม และคำและกลุ่มคำอื่นก็เติมคำคุณศัพท์ได้ รวมถึงคำที่ทำหน้าที่เป็นคำนาม ตัวอย่างเช่น

To err is human; to forgive, divine.—Pope.

(human และ divine เป็นคำคุณศัพท์ที่เติมกับอาการนาม)

คำคุณศัพท์ในภาษาอังกฤษไม่สามารถดูได้จากรูปอย่างเดียว แต่บางคำเกิดจากการเติมท้าย (suffix) คำอื่น เช่น -al (habitual), -ful (blissful), -ic (atomic), -ish (impish, youngish), -ous (hazardous) ฯลฯ หรือเป็นคำคุณศัพท์อื่นแล้วมีคำเติมหน้า (prefix) เช่น dis- (disloyal), ir- (irredeemable), un- (unforeseen), over- (overtired)

คำคุณศัพท์แบ่งได้เป็น 4 ประเภทหลัก

  1. คำคุณศัพท์บอกลักษณะ (Descriptive adjectives)
  2. คำคุณศัพท์บอกปริมาณ (Adjectives of quantity)
  3. คำคุณศัพท์ชี้ชัด (Demonstrative adjectives)
  4. คำคุณศัพท์จากสรรพนาม (Pronominal adjectives)

คำคุณศัพท์บอกลักษณะ

[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

คำคุณศัพท์บอกลักษณะ เป็นการบอกคุณภาพและคุณลักษณะของนาม

แบ่งได้อีกเป็น 4 ประเภทย่อย

  1. Simple adjectives บอกคุณภาพ เช่น safe, happy, deep ฯลฯ
  2. Compound adjectives เป็นกลุ่มคำที่ติดกันเกิดเป็นฉายาที่ใช้บรรยายหรือพรรณนา ตัวอย่างเช่น "ice-cold water", "next-door neighbor", "one-hundred-baht bill" ฯลฯ
  3. Proper adjectives มาจากวิสามานยนาม เช่น "an old English manuscript"
  4. Participal adjectives เป็น participles ที่ใช้อธิบาย หรือ participles ที่หมดหน้าที่กริยาและใช้บอกคุณภาพ เช่น "a charming sight", "trailing clouds"

ระวังสับสนระหว่าง participles ที่เป็นกริยาหรือคุณศัพท์ ดูสองประโยคด้านล่าง

The work was well and rapidly accomplished.
No man of his day was more brilliant or more accomplished.

Accomplished ในประโยคแรกเป็น participle ที่ประกอบเป็นกริยา (was accomplished) ส่วน accomplished ในประโยคที่สองเป็นคำขยาย man

คำคุณศัพท์บอกปริมาณ

[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

คำคุณศัพท์บอกปริมาณ เป็นคำคุณศัพท์ใช้บอกปริมาณ แบ่งได้เป็น 3 ประเภทย่อย

  1. Quantity in bulk ใช้ขยายคำนามเอกพจน์เพื่อแสดงถึงปริมา.ณที่ไม่เจาะจงของสิ่งนั้น เช่น little, much, some, no, any, considerable (บางทีก็ใช้ small)
  2. Quantity in number ใช้บอกจำนวนที่แน่ชัด เช่น one, two, a dozen หรือบอกกลาย ๆ ไม่เจาะจงก็ได้ ้เช่น several, a few, many, more, some, any
  3. Distributive numerals ใช้บอกจำนวนที่ไม่เจาะจง แต่ต้องการสื่อสารว่าเจาะจงกล่าวถึงวัตถุทีละชิ้น ๆ เช่น every, each, either

คำคุณศัพท์ชี้เฉพาะ

[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

คำคุณศัพท์ชี้เฉพาะ ไว้ใช้ชี้ชัดบุคคลหรือสิ่งของ (ระวังสับสนกับสรรพนามชี้เฉพาะ)

เอกพจน์ พหูพจน์
this
that
one
the former
the latter
the other
such
these
those
ones
the formers
the latters
the others
such
former และ latter ใช้กับสิ่งที่เคยกล่าวถึงไปแล้วในประโยค

ตัวอย่างเช่น

About this time I met with an odd volume of the "Spectator."—B. Franklin.
I chose for the students of Kensington two characteristic examples of early art, of equal skill; but in the one case, skill which was progressive—in the other, skill which was at pause.—Ruskin.

จากประโยคที่สองข้างต้น สามารถเปลี่ยน the one เป็น the former และ the other เป็น the latter โดยความหมายคงเดิม

จำนวนเชิงอันดับที่ (Cardinal number) ถือว่ามีหน้าที่แบบคำคุณศัพท์ชี้เฉพาะเหมือนกัน

คำคุณศัพท์จากสรรพนาม

[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

คำคุณศัพท์จากสรรพนาม เดิมเป็นคำสรรพนามแต่มีการนำมาใช้ขยายนาม (ไม่ใช่ใช้แทน antecedent ซึ่งเป็นหน้าที่ของสรรพนาม) มี 2 ประเภทย่อย คือ relative และ interrogative

Relative adjectives (บ้างแปลเป็น "ประพันธคุณศัพท์") ได้แก่ which และ what ตัวอย่างเช่น

It matters not what rank he has, what revenues or garnitures. —Carlyle.

Indefinite relative adjectives ได้แก่ what, whatever, whatsoever, whichever, whichsoever ตัวอย่างเช่น

Whatsoever kind of man he is, you at least give him full authority over your son.—Ruskin.

Interrogative adjectives หมายถึง which และ what; which ส่อความเจาะจงสิ่งที่ทราบ (ว่าตัวเลือกทั้งหมดมีอะไรบ้าง) ส่วน what ส่อความว่าไม่ทราบ ตัวอย่างเช่น

But what books in the circulating library circulate?—Lowell.

What ในประโยคอุทาน

[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

ในประโยคอุทาน what และ what a เป็นคุณศัพท์เพื่อบอกลักษณะ ตัวอย่างเช่น

What a piece of work is man!—Shakespeare.
Through what hardships it may attain to bear a sweet fruit!—Thoreau.

การเรียงลำดับคำคุณศัพท์

[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

ในภาษาอังกฤษมีลำดับคำคุณศัพท์

คำนำหน้านาม ความเห็น
(Opinion)
ขนาด
(Size)
อายุ
(Age)
รูปทรง
(Shape)
สี
(Colour)
ที่มาหรือสัญชาติ
(Origin)
วัสดุ
(Material)
บอกปริมาณ/วัตถุประสงค์
(Qualifier/purpose)
นาม
real
perfect
beautiful
interesting
tiny
big
extensive
young
ancient
six-year-old
round
sharp
white
pale
French
volcanic
wooden
metallic
hunting
passenger

การเปรียบเทียบ

[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

คำคุณศัพท์สามารถใช้เปรียบเทียบได้ เช่นเดียวกับคำวิเศษณ์ การเปรียบเทียบมี 2 ขั้น (degree) คือ ขั้นกว่า (comparative) และขั้นสุด (superlative)

อย่างไรก็ตาม คำคุณศัพท์บอกลักษณะบางคำไม่สามารถเปรียบเทียบได้เพราะความหมายของมันเอง เช่น favorite, main, final, perpetual, organic, universal, sole, sufficient, infinite, supreme

การเปรียบเทียบบ้างใช้การเติม -er และ -est เข้ากับรูปฐาน (positive degree) เพื่อทำเป็นขั้นกว่าและขั้นสุด เช่น red, redder, reddest; easy, easier, easiest. และบางใช้การเติม more และ most ด้านหน้ารูปฐาน ในภาษาอังกฤษยังไม่มีกฎตายตัวว่าจะเลือกคำใดเติม -er และ -est และคำใดเติม more และ most ส่วนใหญ่คำพยางค์เดียวและออกเสียงง่ายจะเติม -er และ -est ส่วนที่เหลือเติม more และ most

บางคำมีการเปลี่ยนรูปแบบไม่ปกติ (irregular) เช่น

ฐาน ขั้นกว่า ขั้นสุด
good better best
bad worse worst
much more most
little less, lesser least
far further furthest
late later least

บางคำไม่มีรูปฐาน เช่น

ฐาน ขั้นกว่า ขั้นสุด
inner innermost

คำวิเศษณ์ที่ใช้เป็นคุณศัพท์

[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

บางทีมีการใช้คำวิเศษณ์เป็นคำคุณศัพท์ เช่น

Our sometime sister, now our queen.—Shakespeare
The seldom use of it.—Trench.