คำสนธิ คือ การเชื่อมคำเข้าด้วยกัน โดยนำคำบาลีและสันสกฤตตั้งแต่ ๒ คำขึ้นไปมาเชื่อมต่อกันเป็นคำเดียวกัน เสียงสุดท้ายของคำหน้ารับเสียงหน้าของคำหลัง โดยมีการเปลี่ยนแปลงพยัญชนะ สระ และนิคหิตที่มาเชื่อม เพื่อการกลมกลืนเสียงให้เป็นธรรมชาติของการออกเสียง และทำให้คำเหล่านั้นมีเสียงสั้นเข้า เช่น
คำสมาสที่มีการเปลี่ยนแปลงเสียงขณะเมื่อนำ ๒ คำมารวมเป็นคำเดียวกัน เรียกว่า คำสมาสที่มีการสนธิ
- ๑. เกิดจากคำมูลตั้งแต่ ๒ คำขึ้นไป
- ๒. ต้องเป็นคำที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤตเท่านั้น
- ๓. มีการเชื่อมคำโดยเปลี่ยนแปลงสระ พยัญชนะ หรือนิคหิต ของคำเดิม
- ๔. มักเรียงคำหลักไว้่หลังคำขยาย ดังนั้นในการแปลความหมายจะแปลจากหลังไปหน้า
การสนธิ แบ่งออกเป็น ๓ ชนิด ตามลักษณะการเปลี่ยนแปลงอักษร คือ สระสนธิ พยัญชนะสนธิ และนิคหิตสนธิ
สระสนธิ เป็นการนำคำที่ลงท้ายด้วยสระไปสนธิกับคำที่ขึ้นต้นด้วยสระ ซึ่งเมื่อสนธิแล้วจะมีการเปลี่ยนแปลงรูปสระ เพื่อให้เสียงสระ ๒ เสียง ได้กลมกลืนเป็นเสียงเดียวกัน แบ่งออกเป็น ๓ วิธี ได้แก่
- ๑. อะ อา สนธิกับ อะ อา ได้เป็น อะ หรือ อา เช่น
- ๒. อะ อา สนธิกับ อิ อี ได้เป็น อิ อี หรือ เอ เช่น
- ๓. อะ อา สนธิกับ อุ อู ได้เป็น อุ อู หรือ โอ เช่น
- ๔. อะ อา สนธิกับ เอ ไอ โอ เอา ได้เป็น เอ โอ ไอ หรือ เอา เช่น
- ๕. อิ อี สนธิกับ อิ อี ได้เป็น อิ อี หรือ เอ เช่น
- ๖. อิ อี สนธิกับสระอื่นที่ไม่ใช่ อิ อี ด้วยกัน ต้องแปลง อิ อี เป็น ย ก่อน แล้วจึงสนธิกับสระหลัง และถ้าคำหน้ามีพยัญชนะตัวตามซ้อนกัน ก็ให้ลบตัวหน้าทิ้งหนึ่งตัวด้วย เช่น
- ๗. อุ อู สนธิกับ อุ อู ได้เป็น อุ อู หรือ โอ เช่น
- ๘. อุ อู สนธิกับสระอื่นที่ไม่ใช่ อุ อู ด้วยกัน ต้องแปลง อุ อู เป็น ว ก่อน แล้วจึงสนธิกับสระหลัง เช่น
พยัญชนะสนธิ เป็นการเชื่อมคำระหว่างพยัญชนะกับพยัญชนะ โดยมีการเปลี่ยนแปลงพยัญชนะคำเดิมก่อนนำมาสนธิ ซึ่งเป็นวิธีการรวมคำในภาษาบาลีสันสกฤต ไทยรับมาใช้เพียงไม่กี่คำ เช่น
นิคหิตสนธิ เป็นการนำคำที่ลงท้ายด้วยนิคหิตไปสนธิกับคำที่ขึ้นต้นด้วยพยัญชนะ หรือสระก็ได้ มีหลักเกณฑ์ ดังนี้
- ๑. นิคหิต สนธิกับ สระ แปลงนิคหิตเป็น ม เช่น
คำพื้น
|
รวมเป็น
|
สํ- (> สมฺ-) + อาทาน |
สมฺอาทาน => สมาทาน
|
สํ- (> สมฺ-) + โอสร |
สมฺโอสร => สโมสร
|
สํ- (> สมฺ-) + อิทธิ (บาลี: อิทฺธิ) |
สมฺอิทฺธิ => สมิทธิ (บาลี: สมิทฺธิ)
|
สํ- (> สมฺ-) + อาคม |
สมฺอาคม => สมาคม
|
สํ- (> สมฺ-) + อาจาร |
สมฺอาจาร => สมาจาร
|
สํ- (> สมฺ-) + อุทัย (บาลี: อุทย) |
สมฺอุทย => สมุทย => สมุทัย
|
สํ- (> สมฺ-) + อาส |
สมฺอาส => สมาส
|
- ๒. นิคหิต สนธิกับ พยัญชนะวรรค แปลงนิคหิตเป็นพยัญชนะตัวสุดท้ายของวรรคนั้น ๆ เช่น
คำพื้น
|
รวมเป็น
|
สํ- (> สงฺ-) + กร |
สํกร => สงฺกร => สังกร
|
สํ- (> สญฺ-) + จร |
สํจร => สญฺจร => สัญจร
|
สํ- (> สณฺ-) + ฐาน |
สํฐาน => สณฺฐาน => สัณฐาน
|
สํ- (> สนฺ-) + ธาน |
สํธาน => สนฺธาน => สันธาน
|
สํ- (> สมฺ-) + ภาร |
สํภาร => สมฺภาร => สัมภาร, สมภาร
|
สํ- (> สงฺ-) + ขาร |
สํขาร => สงฺขาร => สังขาร
|
สํ- (> สญฺ-) + ชาติ |
สํชาติ => สญฺชาติ => สัญชาติ
|
สํ- (> สณฺ-) + ฐิติ |
สํฐิติ => สณฺฐิติ => สัณฐิติ
|
สํ- (> สนฺ-) + นิบาต (บาลี: นิปาต) |
สํนิปาต => สนฺนิปาต => สันนิปาต => สันนิบาต
|
สํ- (> สมฺ-) + พนฺธ (> พันธ์) |
สํพนฺธ => สมฺพนฺธ => สัมพันธ์
|
- ๓. นิคหิต สนธิกับ เศษวรรค (ย ร ล ว ศ ษ ส ห ฬ) แปลงนิคหิตเป็น ง (บาลี: งฺ) เช่น
คำพื้น
|
รวมเป็น
|
สํ- (> สงฺ-) + โยค |
สํโยค => สงฺโยค/(สญฺโญค > สัญโญค) => สังโยค
|
สํ- (> สงฺ-) + วาส |
สํวาส => สงฺวาส => สังวาส
|
สํ- (> สงฺ-) + สนฺทน (> สันทน์) |
สํสนฺทน => สงฺสนฺทน => สังสันทน์
|
สํ- (> สงฺ-) + สาร |
สํสาร => สงฺสาร => สังสาร, สงสาร
|
สํ- (> สงฺ-) + วร |
สํวร => สงฺวร => สังวร
|
สํ- (> สงฺ-) + สรรค์ (สันสกฤต: สรฺค, บาลี: สคฺค) |
สํสรฺค (บาลี: สํสคฺค) => สงฺสรฺค (บาลี: สงฺสคฺค) => สังสรรค์
|
สํ- (> สงฺ-) + หรณ์ (บาลี: หรณ) |
สํหรณ => สงฺหรณ => สังหรณ์
|
- ๑. ได้รูปศัพท์ใหม่ที่เด่นด้วยความหมาย และได้รูปคำที่มีความสละสลวย
- ๒. เป็นประโยชน์ในการแต่งคำประพันธ์ประเภทฉันท์ และร่าย