ภาษาไทย/ไวยากรณ์/ชนิดของคำ/คำนาม
ไปยังการนำทาง
ไปยังการค้นหา
คำนาม คือ คำที่แสดงความหมายถึง คน สัตว์ สิ่งของ สภาพ อาการ สถานที่ ลักษณะซึ่งรวมทั้งสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิต
ชนิดของคำนาม[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]
- คำนามทั่วไป หรือ สามานยนาม เป็นคำที่ไม่ชี้เฉพาะว่าเป็นสิ่งไหน เช่น สมุด ดินสอ ปากกา
- คำนามเฉพาะ หรือ วิสามานยนาม เป็นคำที่ชี้เฉพาะลงไปว่าเป็นใครหรือสิ่งใด เช่น นายแดง วัดพระแก้ว
- คำนามบอกลักษณะ หรือ ลักษณนาม เป็นคำตามหลังจำนวนบอกลักษณะของนามนั้น ๆ เช่น ปากกา ๓ ด้าม ไข่ ๓ ฟอง
- คำนามบอกหมวดหมู่ หรือ สมุหนาม เป็นคำที่บอกว่ามีหลาย ๆ สิ่ง หลาย ๆ อย่าง รวมกัน เช่น ฝูง กอง
- คำนามบอกอาการ หรือ อาการนาม เป็นคำที่บอกการกระทำหรือการแสดงมักมีคำว่า การ ความ นำหน้า เช่น การกิน การนอน ความดี ความชั่ว
หน้าที่ของคำกริยามีดังนี้คือ
๑. ทำหน้าที่เป็นตัวแสดงในภาคแสดงของประโยค เช่น
- ขนมวางอยู่บนโต๊ะ - นักเรียนอ่านหนังสือทุกวัน
๒. ทำหน้าที่ขยายคำนาม เช่น
- วันเดินทางของเขาคือวันพรุ่งนี้ ("เดินทาง" เป็นคำกริยาที่ไปขยายคำนาม "วัน")
๓. ทำหน้าที่ขยายกริยา เช่น
- เด็กคนนั้นนั่งดูนก ("ดู" เป็นคำกริยาที่ไปขยายคำกริยา "นั่ง")
๔. ทำหน้าที่เหมือนคำนาม เช่น
- ออกกำลังกายทุกวันทำให้ร่างกายแข็งแรง ("ออกกำลังกาย" เป็นคำกริยา ทำหน้าที่เป็นประธานของประโยค) - เด็กชอบเดินเร็วๆ ("เดิน" เป็นคำกริยา ทำหน้าที่เป็นกรรมของประโยค)