ข้ามไปเนื้อหา

ภาษาไทย/ไวยากรณ์/ชนิดของคำ/คำสันธาน

จาก วิกิตำรา

คำสันธาน คือ คำที่ใช้เชื่อมประโยคหรือข้อความให้ติดกันเป็นเรื่องเดียวกัน ประโยคหรือข้อความที่ได้อาจมีลักษณะเป็นเหตุเป็นผลกัน ขัดแย้งกัน คล้อยตามกัน หรือให้เลือกเอาอย่างใดอย่างหนึ่ง ได้แก่ กับ และ จึง ถ้า เพราะ เพราะฉะนั้น...จึง เพราะว่า แต่ หรือ มิฉะนั้น ถึงแม้ว่า เมื่อ ครั้น...จึง ถึง...ก็ ดังนั้น...จึง

  • ประโยคที่มีภาคแสดงเหมือนกันหลายประโยค เราสามารถรวมเป็นประโยคเดียวกันได้โดยใช้สันธาน กับ และ เป็นคำเชื่อม เช่น
    • ทิพย์ไปโรงเรียน + อิ๋วไปโรงเรียน + รัตน์ไปโรงเรียน = ทิพย์ อิ๋ว และรัตน์ไปโรงเรียน
    • มะลิรักพี่มาก + มะลิรักน้องมาก = มะลิรักน้องกับพี่มาก
  • คำสันธานเชื่อมประโยคที่เป็นเหตุเป็นผลกัน เช่น ถึงเขาจะป่วยเขาก็ยังไปโรงเรียน
  • คำสันธานเชื่อมประโยคที่ให้เลือกเอาอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น เธอจะไปเที่ยวกับฉันหรือจะอยู่เฝ้าบ้าน

หน้าที่ของคำสันธาน

[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]
  1. เชื่อมคำกับคำ หรือ กลุ่มคำกับกลุ่มคำ
  2. เชื่อมประโยคความรวม
  3. เชื่อมประโยคความซ้อน
  4. เชื่อมข้อความกับข้อความให้สัมพันธ์กัน

เชื่อมข้อความให้สละสลวย

[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]