Databases and Warehousing/What are the components of a database of a database management system (DBMS)?
ระบบจัดการฐานข้อมูล(Database Management System Language-DBMS)
- คือ ซอร์ฟแวร์หรือกลุ่มของโปรแกรมที่ช่วยในการวางแผน รวบรวมข้อมูล จัดการ และเข้าถึงข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยที่ผู้ใช้สามารถใช้ DBMS ในการเพิ่มเติมข้อมูล ลบข้อมูล แสดงผล พิมพ์ ค้นหา เลือก หรือ จัดเรียง ข้อมูลได้ DBMS มีหลายประเภท ตั้งแต่เป็นโปรแกรมที่ใช้กับไมโครคอมพิวเตอร์ จนถึงโปรแกรมที่ใช้กับเมนเฟรม นอกจากนี้ข้อมูลที่จัดการโดย DBMS ยังสามารถเก็บข้อมูลที่เป็นรูปกราฟฟิค เสียง และรูปภาพได้ด้วย
- ระบบจัดการฐานข้อมูล (DBMS) เป็นองค์ประกอบที่สำคัญของ Computer-Based Information System (CBIS) ซึ่งเป็นแนวคิดที่รวบรวมข้อมูลและโปรแกรมประยุกต์ต่างๆ มาทำงานร่วมกันโดยใช้เทคนิค การดึง และจัดเก็บข้อมูลที่ซับซ้อนและสามารถแสดงความสัมพันธ์ของเรคคอรด์ต่าง ๆ ภายในแฟ้มข้อมูลได้ และยังทำหน้าที่จัดระเบียบแฟ้มทางกายภาพ ควบคุมการเข้าถึงข้อมูลในรูปแบบต่าง ๆ การบำรุงรักษาฐานข้อมูลให้อิสระจากโปรแกรมประยุกต์ ความปลอดภัย และการกู้แฟ้มข้อมูลอีกด้วย
ส่วนประกอบของ DBMS
ระบบจัดการฐานข้อมูล ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบหลัก ได้แก่
- โมเดลของข้อมูล (Data model)
- ภาษาคำจำกัดความของข้อมูล (Data Definition Language-DDL)
- ภาษาในการจัดการข้อมูล (Data Manipulate Language-DML)
- พจนานุกรมข้อมูล (Data Dictionary)
1. โมเดลของข้อมูล (Data model)
- กำหนดได้ด้วยข้อมูลที่มีโครงสร้างแนวความคิด (conceptuallly structured)ตัวอย่างของรูปแบบโมเดล เช่น โมเดลแบบลำดับชั้น (Hierachical), เครือข่าย (Network), ความสัมพันธ์ (relational), แนวคิดเชิงวัตถุ (object oriented), ความสัมพันธ์เชิงวัตถุ (object relational), hypermedia และ โมเดลความสัมพันธ์หลายมิติ (multidimensional model)
2. ภาษากำหนดโครงสร้างข้อมูล (Data Definition Language-DDL)
- โปรแกรมเมอร์ใช้ภาษานี้เพื่อระบุชนิดของสารสนเทศและโครงสร้างของฐานข้อมูล ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญที่ต้องมีการเชื่อมโยงระหว่างแนวคิดเชิงตรรกะ (Logical view) และ แนวคิดเชิงกายภาพ (Physical view) ของฐานข้อมูล (logical จะอ้างถึงข้อมูลของ user view และ physical จะเป็นข้อมูลถูกเก็บและประมวลผลเชิงกายภาพ (physical)
- ผู้ใช้งาน DBMS จะกำหนด Logical view หรือ โครงสร้าง (schema) โดยใช้ Data Definition Language (DDL) โครงสร้าง (schema) คือ การกำหนดฐานข้อมูลทั้งหมดเชิงตรรกะ (logical) และ ลงรายละเอียดหัวข้อรายการ และความสัมพันธ์ของข้อมูลทั้งหมด โครงสร้างย่อย (Subschema) คือ การระบุ ชุดของข้อมูลจากฐานข้อมูลที่ต้องการในแต่ละแอพพลิเคชั่นDDL ใช้เพื่อกำหนดคุณลักษณะทางกายภาพ (physical) ของแต่ละเรคคอร์ด, ฟิลด์ในเรคคอร์ด และ ชื่อ,ชนิดของข้อมูล และความยาวอักขระในเชิงตรรกะ (logical) ของแต่ละฟิลด์
ตัวอย่างการใช้คำสั่ง DDL
- CREATE TABLE Employee
- ( ID INTEGER NOT NULL,
- NAME CHAR(30),
- FLOAT,
- HEALTH_INSUR_ID INTEGER,
- ADDRESS CHAR(50),
- PRIMARY KEY(ID),
- CHECK (SALARY >1000 AND SALARY <=100000));
3. ภาษาในการจัดการข้อมูล (Data Manipulate Language-DML)
- เป็นภาษาที่ใช้ในภาษายุคที่ 3 หรือ 4 เพื่อใช้ในการจัดการข้อมูลในฐานข้อมูล ภาษานี้จะประกอบไปด้วยคำสั่งที่อนุญาตให้ผู้ใช้ปลายทาง (end user) และผู้ชำนาญทางโปรแกรม (programming specialist) ดึงข้อมูลจากฐานข้อมูลไปยังสารสนเทศที่ ร้องขอมา และแอพพลิเคชั่น ที่พัฒนา DML จะช่วยให้ผู้ใช้สามารถที่จะได้รับคืนมา (retrieve), จัดเรียง (sort), แสดงผล (display) และลบ content ของฐานข้อมูล โดยทั่วไป DML ประกอบด้วย การจัดการมากมาย (ตัวอย่างเช่น SELECT , MODIFY, DELETE) และ ตัวกระทำของแต่ละ verb
- การร้องขอข้อมูลสารสนเทศจากฐานข้อมูลเป็นการกระทำที่ใช้บ่อยครั้ง ผู้ใช้ไม่สามารถที่จะดึงข้อมูลสารสนเทศออกมาด้วยภาษาธรรมชาติได้, ดังนั้นจึงเกิดการใช้รูปแบบภาษา Query ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของระบบจัดการฐานข้อมูล
- ภาษาสอบถามเชิงโครงสร้าง (Structured Query Language : SQL) เป็นภาษาที่แสดงความสัมพันธ์ของฐานข้อมูลที่นิยมมากซึ่งประกอบด้วยคุณลักษณะของ DML และ DLL SQL สามารถที่จะค้นหาสิ่งที่มีรูปแบบซับซ้อนด้วยคำสั่งง่ายๆที่แสดงความสัมพันธ์ keyword ที่ใช้ เช่น SELECT (ระบุแอททริบิวต์), FROM (ระบุตารางที่จะใช้หา) และ WHERE (ระบุเงื่อนไขในการคิวรี่ข้อมูล) ใช้เป็นคีย์เวิร์ดพื้นฐานสำหรับการจัดการข้อมูล ตัวอย่างเช่น สมาชิกนิติบัญญัติของมลรัฐหนึ่ง ต้องการส่งจดหมายแสดงความยินดีไปยังนักศึกษาทุกคนในเขตการปกครองที่จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยในมลรัฐนั้นซึ่งเหตุการณ์นี้ผู้ใช้จะคิวรี่บ่อย ๆ โดยใช้วิธี Query-By-Example แทนที่การใช้การคีย์แบบ SQL ผู้ใช้จะเลือดตารางและฟิลด์ ซึ่งมีคำตอบรวมอยู่ เมื่อใส่ตัวอย่างของข้อมูลที่ต้องการ QBE ก็จะหาคำตอบบนพื้นฐานตัวอย่างที่ต้องการ QBE จะซ่อนความยุ่งยากของ SQL
ตัวอย่างการใช้คำสั่ง DML
- SELECT NAME,SALARY
- FROM EMPLOYEE
- WHERE SALARY>1000 AND SALARY<20000;
หรือ
- DELETE FROM EMPLOYEE
- WHERE SALARY <= 10000;
4. พจนานุกรมข้อมูล (Data Dictionary)
- เป็นที่เก็บรายละเอียดของส่วนประกอบและลักษณะต่างๆ เช่น การใช้งาน การแสดงทางกายภาพ ความเป็นเจ้าของ ของคนในองค์กรที่มีหน้าที่ในการปรับปรุงข้อมูล
- การให้สิทธิ์และความปลอดภัย ส่วนประกอบของข้อมูลก็คือฟิลด์นั่นเอง นอกจากนั้น ชื่อของข้อมูลและชื่อในพจนานุกรมข้อมูลก็จะอ้างอิงถึงกันในระบบและสามารถระบุความเป็นแต่ละบุคคล, ฟังก์ชั่นทางธุรกิจ, แอพพลิเคชั่นและรายงานผลโดยใช้ส่วนประกอบของข้อมูล
พจนานุกรมข้อมูลนั้นให้ผลประโยชน์มากมายแก่องค์กร เพราะมันจะช่วยสร้างมาตรฐานให้กับส่วนประกอบต่างๆทั้งหมด และความไม่ต่อเนื่องของข้อมูลลง นั่นก็คือ ส่วนประกอบของข้อมูลที่เหมือนกันจะถูกใช้ในแอพพลิเคชั่นที่ต่างๆกัน แต่จะใช้โดยเปลี่ยนชื่อให้ไม่เหมือนกัน นอกเหนือจากนั้นพจนานุกรมข้อมูลนั้นทำให้การพัฒนาระบบรวดเร็วขึ้น เนื่องจากโปรแกรมเมอร์ไม่ต้องสร้างชื่อข้อมูลใหม่ พจนานุกรมข้อมูลจะช่วยให้การเปลี่ยนแปลงข้อมูลและสารสนเทศต่างๆ ง่ายขึ้น เพราะโปรแกรมเมอร์ไม่จำเป็นต้องรู้ว่าส่วนประกอบของข้อมูลต่างๆนั้น เก็บไว้ที่ใดหรือแอพพลิเคชั่นนั้นใช้ส่วนใดของข้อมูลในการทำงานของโปรแกรม
- พจนานุกรมข้อมูลนั้นเป็นรูปแบบของ Metadata ซึ่งก็คือข้อมูลเกี่ยวกับสารสนเทศ จะเกิดขึ้นในระบบของ business-to-business เช่น การมีทรานแซคชั่นต่างๆบนเน็ต ซึ่งแต่ละทรานแซคชั่นต้องการ Metadata ซึ่งบริษัทจะสามารถ track ทรานแซคชั่นและวิเคราะห์ผลสำเร็จได้
สภาพแวดล้อมของฐานข้อมูลทำให้มั่นใจได้ว่าข้อมูลในฐานข้อมูลนั้นจะระบุเพียงครั้งเดียวและมีความต่อเนื่อง และใช้สำหรับแอพพลิเคชั่นทั้งหลายซึ่งเป็นเจ้าของข้อมูลในฐานข้อมูล แอพพลิเคชั่นจะร้องขอข้อมูลจากส่วนประกอบของข้อมูลในฐานข้อมูลและระบบจัดการฐานข้อมูลจะมีหน้าที่ไปค้นหา เมื่อเจอแล้วจะส่งต่อไปยังแอพพลิเคชั่น ซึ่งโปรแกรมเมอร์และผู้ใช้ปลายทางไม่ต้องระบุรายละเอียดว่าค้นหาข้อมูลได้อย่างไรหรือที่ไหน
การนำระบบจัดการฐานข้อมูลไปประยุกต์ใช้
- ระบบจัดการฐานข้อมูล (DBMS) มีประโยชน์อย่างมากสำหรับผู้ใช้ในการที่จะเข้าถึง และจัดการกับข้อมูลที่เก็บอยู่ในฐานข้อมูล โดยการนำระบบจัดการฐานข้อมูลไปใช้นั้นผู้ใช้จำเป็นต้องมีการออกแบบฐานข้อมูลเป็นอย่างดี เพื่อที่จะนำข้อดีของระบบจัดการฐานข้อมูล เช่น การลดความซ้ำซ้อนของข้อมูล, ความเป็นอิสระของข้อมูล, ความง่ายในการเข้าถึงข้อมูล, การมีระบบรักษาความปลอดภัย, การลดค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาโปรแกรม เป็นต้น การจมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- นอกจากที่ผู้ใช้จะต้องออกแบบฐานข้อมูลอย่างดีแล้ว ยังควรคำนึงถึงระบบจัดการฐานข้อมูลที่นำมาใช้ด้วยว่าเหมาะสมกับข้อมูลที่มีอยู่หรือไม่ เช่น หากข้อมูลมีจำนวนมาก และมีความยุ่งยาก ก็ควรใช้ระบบจัดการฐานข้อมูลที่สามารถรองรับการจัดการข้อมูลจำนวนมากได้เช่น Oracle หรือ Informix เป็นต้น แต่หากข้อมูลมีจำนวนไม่มากสามารถที่จะใช้ระบบการจัดการข้อมูลที่มีขนาดเล็กกว่าและง่ายในการใช้มากกว่า เช่น Interbase หรือ Microsoft Access เป็นต้น
Questions for Review
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]- /List the major sources of data.
- /List some of the major data problem.
- /What is the terabyte?(Write the number.)
- /Review the steps of the data life cycle and explain them.
- /List some of the categories of data available on the Internet.
- /Define data Quality.
- /Define document management.
- /Describe the hierarchy of a file management system.
- /What are the problems that arise from the file environment?
- /Discuss a relational database and how it differs from other databases.
- /What are the components of a database of a database management system (DBMS)?
- /What is the difference between the conceptual, logical and physical views of data?
- /How can you get data out of a database?
- /What are the benefits of using a DBMS?
- /What is the difference between entities and attributes?
- /Describe a data warehouse.
- /Describe a datamart.
- /Define a marketing transaction database.