ภาษาอังกฤษ/ไวยากรณ์/หน้าที่ของคำ/คำบุพบท สันธาน และอุทาน
บทนี้ว่าด้วยคำบุพบท สันธาน และอุทาน ในภาษาอังกฤษ
คำบุพบท
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]คำบุพบท (prepositions) เป็นคำที่เชื่อมกับนามหรือคำที่เทียบเท่านามเพื่อเป็นคำบอกคุณภาพหรือใช้เหมือนคำวิเศษณ์ และเพื่อแสดงความสัมพันธ์ระหว่างวัตถุกับคำที่ไปขยาย
วัตถุของบุพบท
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]คำบุพบทอาจมีสิ่งเหล่านี้เป็นวัตถุ
- คำนาม
- คำสรรพนาม เช่น "With whom I traverse earth."
- คำคุณศัพท์ เช่น "On high the winds lift up their voices."
- คำวิเศษณ์ เช่น "If I live wholly from within."
- วลี เช่น "Everything came to her from on high"
- Inifinitives เช่น "The queen now scarce spoke to him save to convey some necessary command for her service."
- Gerunds เช่น "He is not content with shining on great occasions."
- อนุประโยค เช่น
- "Each soldier eye shall brightly turn
- To where thy sky-born glories burn."
คำบุพบทโดยส่วนใหญ่นำหน้าวัตถุ ยกเว้นตามหลังวัตถุในกรณีต่อไปนี้
- หลังประพันธ์สรรนาม พบได้บ่อย เช่น
- "It's the man that I spoke to you about" said Mr. Pickwick.—Dickens.
- หลังคำวิเศษณ์ คุณศัพท์หรือสรรพนามที่ใช้ถาม ก็พบได้บ่อย เช่น
- What is the little one thinking about?—J. G. Holland.
- ใช้กับ infinitives เช่น
- A proper quarrel for a Crusader to do battle in.—Scott.
- ตามหลังคำนาม ซึ่งมักพบว่าบุพบทนำหน้าวัตถุนั้น เช่น
- Forever panting and forever young,
- All breathing human passion far above.
- —Keats.
วัตถุของบุพบทเป็นคำนามเสียส่วนใหญ่ จึงมักจัดประโยคให้บุพบทนำหน้าวัตถุ ดังในประโยค
- "Roused by the shock, he started from his trance.
ในที่นี้ by และ from เป็นคำเชื่อม แต่ยังแสดงความสัมพันธ์เชิงความความคิดด้วย by แสดงถึงวิธีการหรือตัวการ ส่วน from แสดงความสัมพันธ์แบบแยกออกจากกัน
กรณีวัตถุของบุพบทเป็นคำนามหรือคำสรรพนาม คำนั้นมักอยู่ในรูปกรรม (objective) เช่น "Upon them with the lance."
สำหรับสำนวน double possessive วัตถุที่ตามหลัง of เป็นรูปสัมพันธการก เช่น
- There was also a book of Defoe's,... and another of Mather's.—Franklin.
ส่วนคำบุพบท but และ save (ถ้าเป็นคำบุพบทจะแปลว่า "ยกเว้น") ใช้กับสรรพนามรูปประธาน เช่น
- Nobody knows but my mate and I
- Where our nest and our nestlings lie.
- —BRYANT.
การใช้คำบุพบท
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]- ตามหลังคำกริยา และกลายเป็นส่วนหนึ่งของกริยานั้น ซึ่งอาจต้องพิจารณาดูว่าบุพบทนั้นเป็นของกริยาหรือมีหน้าที่แบบบุพบทแยกต่างหาก เช่น
- (A) "He broke a pane from the window."
- (B) "He broke into the bank."
- ในประโยค (A) broke เป็นภาคแสดง (predicate) และ from เป็นบุพบทโดยมี window เป็นวัตถุของบุพบท ไปขยาย a pane
- ในประโยค (B) broke into เป็นภาคแสดง และ bank เป็นวัตถุของกริยา
- เป็นคำแสดงความสัมพันธ์ (relation words) เป็นการเชื่อมวลี ซึ่งเป็นการใช้มากที่สุด
สำหรับการใช้บุพบทบางคำโดยเฉพาะ ดูที่ บทถัดไป
ประเภทของบุพบท
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]- บอกสถานที่
- บอกสถานที่: about, above, across, amid (amidst), among (amongst), at, athwart, below, beneath, beside, between (betwixt), beyond, in, on, over, under (underneath), upon, round (around), without.
- บอกสถานที่ที่จะไป: into, unto, up, through, throughout, to, towards.
- บอกสถานที่ที่จากมา: down, from (away from, down from, from out, etc.), off, out of.
- บอกเวลา ได้แก่ after, during, pending, till หรือ until (สังเกตว่าบุพบทบอกสถานที่สามารถใช้บอกเวลาได้โดยใช้คู่กับคำที่บอกเวลา เช่น at, between, by, about, on, within)
- บอกข้อยกเว้นหรือการแบ่งแยก เช่น besides, but, except, save, without (participle excepting ก็ใช้ในลักษณะบุพบทยกเว้นด้วย)
คำสันธาน
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]คำสันธาน (conjunctions) เป็นคำเชื่อมคำ กลุ่มคำ ประโยคหรือกลุ่มประโยค
การใช้คำสันธาน
- เชื่อมคำ เช่น "It is the very necessity and condition of existence."
- เชื่อมกลุ่มคำ เช่น "Hitherto the two systems have existed in different States, but side by side within the American Union."
- เชื่อมประโยค เช่น "Unanimity in this case can mean only a very large majority. But even unanimity itself is far from indicating the voice of God."
- เชื่อมกลุ่มประโยค มักใช้คำว่า but, however, hence, nor, then, therefore
แบ่งคำสันธานได้เป็น 2 ประเภทหลัก คือ
- Coordinate conjunctions เป็นการเชื่อมคำ กลุ่มคำหรือประโยคที่มีระดับเท่ากัน
- Subordinate conjunctions เป็นการเชื่อมอนุประโยคไม่สมบูรณ์กับประโยคหลักหรืออนุประโยคสมบูรณ์
Coordinate conjunctions
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]Coordinate conjunctions แบ่งได้อีก 4 ประเภทย่อย
- Copulative เป็นการเชื่อมคำหรือประโยคที่มีใจความไปในทิศทางเดียวกัน เช่น and, also, as well as, moreover
- Adversative เป็นการเชื่อมคำหรือประโยคที่มีใจความตรงข้าม เช่น but, yet, still, however, while, only
- Causal เป็นการเชื่อมสาเหตุหรือเหตุผล เช่น because, for, therefore, hence, then
- Alternative เป็นการเชื่อมตัวเลือก เช่น or, either, else, nor, neither, whether
ตัวอย่างประโยคที่เชื่อมด้วย coordinate conjunctions
- He began to doubt whether both he and the world around him were not bewitched.—Irving.
ประโยคข้างต้นประกอบด้วยประโยคสองประโยค ได้แก่ He began to doubt whether he [was] not bewitched. และ He began to doubt whether the world around him [was] not bewitched.
Subordinate conjunctions
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]Subordinate conjunctions เป็นคำที่ใช้โดยมีความหมายดังต่อไปนี้
- บอกสถานที่ เช่น where, wherever เป็นต้น
- บอกเวลา เช่น when, before, after, since, as, until, whenever, while เป็นต้น
- บอกลักษณะกริยา เช่น how, as, however
- บอกสาเหตุหรือเหตุผล เช่น because, since, as, now, whereas, that, seeing เป็นต้น
- บอกการเปรียบเทียบ ได้แก่ than และ as.
- บอกความมุ่งหมาย ได้แก่ that, so, so that, in order that, lest, so...as
- บอกผลลัพธ์ ได้แก่ that, so that
- บอกเงื่อนไขหรือข้อยกเว้น เช่น if, unless, so, except, though, although; even if, provided, provided that, in case, on condition that เป็นต้น
- บอกสาระ ได้แก่ that, whether (รวม if ในบางบริบท) ใช้เพื่อเปิดอนุประโยคนามที่ใช้เป็นประธาน วัตถุ หรือวางข้างกัน (in apposition) เป็นต้น
ตัวอย่างประโยคที่เชื่อมด้วย subordinate conjunctions
- Where the treasure is, there will the heart be also.—Bible.
ประโยคข้างต้น the treasure is เป็นอนุประโยคไม่สมบูรณ์ และเป็นส่วนเติมเต็มของ There will the heart be โดยมี where เชื่อมสองประโยค
As if และ as though มักใช้เป็นคำสันธานเชื่อมบอกอาการของกริยา และแท้จริงแล้วมีการละคำระหว่างสองคำนี้ เช่น
- But thy soft murmuring Sounds sweet as if a sister's voice reproved. —Byron.
ประโยคข้างต้นอาจวิเคราะห์ได้เป็น "sounds sweet as [the sound would be] if a sister's voice reproved" ในกรณีนี้ เป็นการแสดงระดับ (degree) หากเขียนแยกกัน
คำอุทาน
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]คำอุทาน (Interjections) เป็นเสียงที่เปล่งออกมาเพื่อแสดงอารมณ์ บ้างเป็นการเลียนเสียง เช่น tut! buzz! คำอุทานอื่น เช่น oh! ah! alas! pshaw! hurrah!
อย่างไรก็ดี คำชนิดอื่นก็อาจใช้เป็นคำอุทานได้ แต่ยังถือเป็นคำในหน้าที่เดิมของมัน กล่าวคือ นาม กริยา คุณศัพท์ หรือวิเศษณ์ เช่น Halt! Up! Impossible!
อ้างอิง
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]- ข้อความบางส่วนในหน้านี้ นำมาจากตำรา An English Grammar by W. M. Baskervill and J. W. Sewell, 1895. ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติ