ข้ามไปเนื้อหา

ให้

จาก วิกิตำรา



ให้ (donation[1] หรือ gift[2]) หรือ ให้โดยเสน่หา (gratuitous gift, gratuitous disposition หรือ gratuitous transfer[3]) คือ การที่บุคคลฝ่ายหนึ่งซึ่งเรียกว่า "ผู้ให้" โอนทรัพย์สินของตนโดยเสน่หาให้แก่บุคคลอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งเรียกว่า "ผู้รับ" และผู้รับตกลงรับทรัพย์สินนั้นด้วย จัดเป็นสัญญาประเภทหนึ่ง[4]

สัญญาให้มีสองอย่าง คือ ที่มีผลในระหว่างชีวิตของผู้ให้ เรียกว่า ให้ในระหว่างชีวิต (inter vivos gift, inter vivos disposition,[5] donation inter vivos หรือ donatio inter vivos) และที่มีผลเมื่อผู้ให้ตายแล้ว เรียกว่า ให้โดยพินัยกรรม (gift causa mortis, donation mortis causa,[6] donatio mortis causa, gift by will,[7] testamentary disposition,[5] testamentary gift[8] หรือ testamentary transfer)

ตำรานี้ว่าด้วยการให้ในระหว่างชีวิตเป็นหลัก สำหรับการให้โดยพินัยกรรม ดู มรดก เพราะ ป.พ.พ. ม. 536 ว่า การให้อย่างหลังนี้ ให้เป็นไปตามกฎหมายลักษณะมรดก

สำหรับการให้ในระหว่างชีวิต อยู่ในบังคับแห่ง ป.พ.พ. บรรพ 3 เอกเทศสัญญา ลักษณะ 3 ให้ ซึ่งตำราบางเล่มเรียก "กฎหมายลักษณะให้" (law of gifts) แต่บรรดากฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง เช่น กฎหมายลักษณะนิติกรรมและสัญญา กฎหมายลักษณะหนี้ และกฎหมายลักษณะทรัพย์สิน ต้องนำมาใช้ด้วย เท่าที่กฎหมายลักษณะให้มิได้ว่าไว้เป็นอื่น

เพื่อประโยชน์ในการศึกษากฎหมายลักษณะให้ ตำรานี้จึงแบ่งส่วนดังนี้

  บทที่ 1   ภาพรวมว่าด้วยลักษณะ องค์ประกอบ ความสัมพันธ์ของคู่สัญญา และผลของสัญญาให้

  บทที่ 2   การถอนคืนซึ่งการให้

  บทที่ 3   การให้ทรัพย์สินที่มีค่าภาระติดพัน

อนึ่ง เพื่อประโยชน์ในการศึกษา ตำรานี้ได้แทรกศัพท์กฎหมายที่เป็นภาษาอังกฤษหรือภาษาอื่นไว้ด้วย ศัพท์เหล่านี้อ้างอิงประมวลกฎหมายแพ่งเยอรมัน ญี่ปุ่น หรือฝรั่งเศส ซึ่งเป็นแม่แบบ ป.พ.พ. เป็นหลัก

ตำรานี้ยังแทรก ฎ. บางฉบับไว้ด้วย แต่พึงทราบว่า ในระบบซีวิลลอว์ (civil law) ซึ่งเป็นระบบกฎหมายที่ใช้ในประเทศไทยนั้น คำพิพากษาไม่เป็นกฎหมาย เป็นเพียงการปรับใช้กฎหมายเป็นรายกรณีไปเท่านั้น

  1. เช่น ประมวลกฎหมายแพ่งเยอรมัน ม. 516 ว่า

    "Section 516 Concept of donation

    "(1)   A disposition by means of which someone enriches another person from his own assets is a donation if both parties are in agreement that the disposition occurs gratuitously.

    "(2)   If the disposition occurs without the intention of the other party, the donor may, specifying a reasonable period of time, request him to make a declaration as to acceptance. Upon expiry of the period of time, the donation is deemed to be accepted if the other party has not previously rejected it. In the case of rejection, return of what has been bestowed may be demanded under the provisions on the return of unjust enrichment."

  2. เช่น ประมวลกฎหมายแพ่งญี่ปุ่น ม. 549 ว่า

    "Article 549 (Gifts)

    "Gifts shall become effective by the manifestation by one of the parties of his/her intention to give his/her property to the other party gratuitously, and the acceptance of the other party thereof."

  3. "gratuitous disposition" มีความหมายตรงตัวว่า การจำหน่าย (ทรัพย์สิน) โดยเสน่หา และ "gratuitous transfer" ว่า การโอน (ทรัพย์สิน) โดยเสน่หา เช่น ประมวลกฎหมายแพ่งฝรั่งเศส ม. 893 และ ม. 900-1 ว่า

    "Art. 893

    "One may dispose of his property gratuitously only by gift inter vivos or by will, in the forms hereinafter laid down.

    "Art. 900-1

    "Clauses of inalienability concerning a property donated or bequeathed are valid only where they are temporary and justified by a serious and legitimate interest. Even in that case, a donee or legatee may be judicially authorized to dispose of the property if the interest which justified the clause has disappeared or if it happens that a more important interest so requires.

    "(Repealed)

    "The provisions of this Article do not prejudice gratuitous transfers granted to juridical persons or even to natural persons responsible for forming juridical persons."

  4. ศนันท์กรณ์ โสตถิพันธุ์; 2552: 359, 364.
  5. 5.0 5.1 "inter vivos disposition" มีความหมายตรงตัวว่า การจำหน่าย (ทรัพย์สิน) ในระหว่างชีวิต และ "testamentary disposition" ว่า การจำหน่าย (ทรัพย์สิน) โดยพินัยกรรม แต่คำ "testamentary disposition" นี้มีอีกความหมายว่า ข้อกำหนดพินัยกรรม
    เช่น ประมวลกฎหมายแพ่งฝรั่งเศส เช่น ม. 900 ว่า

    "Art. 900

    "In any inter vivos or testamentary disposition, the conditions which are impossible or those which are contrary to legislation or good morals, shall be deemed to be not written."

    และประมวลกฎหมายแพ่งญี่ปุ่น ม. 42 ว่า

    "Article 42 (Time of Vesting of Endowed Property)

    "(1)   If an act of endowment was in the form of an inter vivos disposition, the endowed property shall vest in the juridical person at the time permission is given for the establishment of such juridical person.

    "(2)   If an act of endowment was done by a will, the endowed property shall vest in the applicable juridical person upon effectuation of such will."

  6. เช่น ประมวลกฎหมายแพ่งเยอรมัน ม. 2301 ว่า

    "Section 2301 (Promise of donation mortis causa)

    "(1)   A promise of a donation made subject to the condition that the donee survives the donor is governed by the provisions concerning dispositions mortis causa. The same applies to a promise to fulfil an obligation or an acknowledgement of debt of the kind described in sections 780 and 781, made by way of donation subject to this condition.

    "(2)   If the donor executes the donation by delivery of the object given, the provisions concerning gifts inter vivos apply."

  7. เช่น ประมวลกฎหมายแพ่งฝรั่งเศส ม. 902 ว่า

    "Art. 902

    "All persons may dispose and receive, either by inter vivos gift, or by will, except those whom legislation declares to be incapable."

  8. เช่น ประมวลกฎหมายแพ่งญี่ปุ่น ม. 554 ว่า

    "Article 554 (Gifts on Donor's Death)

    "With respect to gifts that become effective on the death of the donor, the provisions regarding testamentary gifts shall apply mutatis mutandis, to the extent they are not inconsistent with the nature of gifts that become effective on the death of the donor."

รายการอ้างอิง

[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]
กฎหมาย
คำพิพากษา
หนังสือและบทความ
  • จิตติ ติงศภัทิย์. (2526). ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 2 มาตรา 354 ถึง 452 ว่าด้วยมูลแห่งหนี้. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
  • ปรีชา สุมาวงศ์. (2532). คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยซื้อขาย แลกเปลี่ยน ให้. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา.
  • บาราย. (2553, 24 มกราคม). "ปริศนา...นามสำเพ็ง". ไทยรัฐ. [ออนไลน์]. (เข้าถึงเมื่อ: 13 ธันวาคม 2555).
  • เพรียบ หุตางกูร. (2552, ธันวาคม). คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยมรดก. (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพฯ: โครงการตำราและเอกสารประกอบการสอน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. ISBN 9789744464433.
  • โพยม เลขยานนท์. (2499). คำสอนชั้นปริญญาตรี กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วยซื้อขาย แลกเปลี่ยน ให้. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
  • มานิตย์ จุมปา. (2551). คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยทรัพย์สิน. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ISBN 9789740323006.
  • ศนันท์กรณ์ โสตถิพันธุ์. (2552, พฤศจิกายน). คำอธิบายซื้อขาย แลกเปลี่ยน ให้. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: วิญญูชน. ISBN 9789742888015.
  • อักขราทร จุฬารัตน. (2542). เอกสารการสอนชุดวิชากฎหมายแพ่ง 1: หลักทั่วไป. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
อื่น ๆ

ภาษาต่างประเทศ

[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

ขึ้น