ภาษาไทย/ไวยากรณ์/การใช้เครื่องหมาย/การประวิสรรชนีย์

จาก วิกิตำรา

คำที่ประวิสรรชนีย์[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

คำที่ออกเสียง อะ ที่ต้องประวิสรรชนีย์ (ะ) มีดังนี้

  • คำไทยทุกคำที่ออกเสียงอะ เช่น ตะโก้ มะลิ มะละกอ
  • คำไทยที่ขึ้นต้นด้วย ก ต ส เช่น กะทิ ตะลึง สะกด
  • พยางค์หน้าของคำที่เป็นคำควบกล้ำ กร ตร ปร พร และออกเสียง อะ เช่น กระเป๋า ตระกูล ประจวบ พระพุทธเจ้า
  • คำที่พยางค์หน้ากร่อนเป็นเสียงอะ จากคำเดิมที่เป็นคำประสม เช่น
หมากม่วง - มะม่วง
ต้นเคียน - ตะเคียน
เฌอเอม - ชะเอม
ตัวขาบ - ตะขาบ
สายดือ - สะดือ
  • คำที่เดิมประวิสรรชนีย์อยู่แล้ว แต่เมื่อเติม ร เพื่อใช้ในการประพันธ์ก็ยังคงประวิสรรชนีย์ตามเดิม เช่น
สะคราญ - สระคราญ
ชะลอ - ชระลอ
ชะง่อน - ชระง่อน
  • คำที่กร่อนมาจากคำซ้ำหรือคำอัพภาสในไวยากรณ์บาลีสันสกฤต เช่น
คึกคึก - คะคึก
รื่นรื่น - ระรื่น
แจ้วแจ้ว - จะแจ้ว
  • คำที่มาจากภาษาบาลีสันสกฤตที่มีพยางค์ท้ายออกเสียงอะ เช่น ธุระ พละ มรณะ
  • คำที่มาจากภาษาชวาซึ่งมีพยางค์ออกเสียงอะ เช่น ปะไหมสุหรี มะเดหวี ปะตาระกาหลา
  • คำที่มาจากภาษาอื่น ๆ ที่มีพยางค์ออกเสียงอะ เช่น ซากุระ โซบะ ตือบะ แป๊ะซะ มะกะโรนี

คำที่ไม่ประวิสรรชนีย์[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

คำที่ออกเสียง อะ ที่ไม่ต้องประวิสรรชนีย์ (ะ) มีดังนี้

  • คำที่เป็นอักษรนำ เช่น
ขนม อ่านว่า ขะ - หนม
ฉลอง อ่านว่า ฉะ - หลอง
สวาท อ่านว่า สะ - หวาด
  • คำไทยที่มีตัวสะกดออกเสียง อะ เช่น
จักจั่น อ่านว่า จัก - กะ - จั่น
สัปดน อ่านว่า สับ - ปะ - ดน
ตุ๊กตา อ่านว่า ตุ๊ก - กะ - ตา
  • คำที่แผลงมาจากคำเดิมซึ่งไม่ประวิสรรชนีย์ เช่น
ชอุ่ม มาจาก ชะอุ่ม
ชไม มาจาก ชะไม
ชอ่ำ มาจาก ชะอ่ำ
  • คำที่ออกเสียงอะโดยไม่ประวิสรรชนีย์ที่ได้รับการยกเว้น คือ ณ พณ ธ
  • คำที่ออกเสียงอะกึ่งเสียง เช่น ขโมย สติ อนุรักษ์
  • คำที่เป็นคำสมาสในภาษาบาลีสันสกฤต ซึ่งมีเสียงอะระหว่างคำ เช่น วัฒนธรรม ศิลปศึกษา สาธารณสุข

สารบัญ[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]