ภาษาบาลีสำหรับผู้เริ่มต้น/บทที่ 1
คำศัพท์
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]บทที่ 1 ศัพท์ใหม่แบ่งเป็นคำนาม 16 คำและคำกริยา 10 คำ
คำศัพท์ | ความหมาย | ||
---|---|---|---|
อักษรไทย | อักษรละติน | ||
คำนาม (เพศชาย ลงท้ายด้วยเสียง อะ) | |||
กสฺสก | kassaka | ชาวนา | |
กุมาร | kumāra | เด็กชาย, กุมาร | |
นร, ปุริส | nara, purisa | คน, ผู้ชาย, บุรุษ | |
ปุตฺต | putta | ลูกชาย, บุตร | |
พฺราหฺมณ | brāhmaṇa | พราหมณ์ | |
พุทฺธ, ตถาคต, สุคต | Buddha, Tathāgata, Sugata | พระพุทธเจ้า | |
ภูปาล | bhūpāla | กษัตริย์, พระราชา | |
มนุสฺส | manussa | มนุษย์ | |
มาตุล | mātula | ลุง | |
วาณิช | vāṇija | พ่อค้า | |
สหาย, สหายก, มิตฺต | sahāya, sahāyaka, mitta | เพื่อน, สหาย, มิตร | |
คำกริยา (ผันตามกาลปัจจุบัน บุรุษที่สาม เอกพจน์) | |||
กสติ | kasati | ไถนา | |
คจฺฉติ | gacchati | ไป | |
ฉินฺทติ | chindati | ตัด | |
ธาวติ | dhāvati | วิ่ง | |
ปจติ | pacati | ทำอาหาร, หุง (ข้าว) | |
ปสฺสติ | passati | เห็น, มอง, ดู | |
ภาสติ | bhāsati | พูด | |
ภุญฺชติ | bhuñjati | กิน | |
สยติ | sayati | นอน, หลับ | |
อาคจฺฉติ | āgacchati | มา |
การผันคำนามเพศชายที่ลงท้ายด้วยเสียง อะ ที่ทำหน้าที่เป็นผู้ทำ
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]คำนามที่ทำหน้าที่เป็นผู้ทำของประโยค เรียกว่า กรรตุการก (nominative case) ในเบื้องต้นให้ผู้ทำคือประธานของประโยค การผันคำนามเพศชายที่ลงท้ายด้วยเสียง อะ (-a) มีหลักการผันดังนี้
- รูปเอกพจน์ในการกนี้ให้เติม โ– (-o) ท้ายต้นเค้าคำนาม
- รูปพหูพจน์ในการกนี้ให้เติม –า (-ā) ท้ายต้นเค้าคำนาม
เมื่อแปลที่ผันตามการกนี้จะมีความหมายว่า "อันว่า..." ซึ่งปกติเมื่อแปลประโยคจะละไว้ไม่เขียน แต่ให้ทราบว่าเป็นผู้ทำหรือประธานของประโยค
ต้นเค้าคำนาม + รูปผัน | ผู้ทำ เอกพจน์ | ||
---|---|---|---|
นร + โ- (nara + -o) |
→ | นโร (naro) |
อันว่าผู้ชาย, อันว่าคน |
มาตุล + โ- (mātula + -o) |
→ | มาตุโล (mātulo) |
อันว่าลุง |
กสฺสก + โ- (kassaka + -o) |
→ | กสฺสโก (kassako) |
อันว่าชาวนา |
ต้นเค้าคำนาม + รูปผัน | ผู้ทำ พหูพจน์ | ||
นร + -า (nara + -ā) |
→ | นรา (narā) |
อันว่าพวกผู้ชาย, อันว่าคนทั้งหลาย |
มาตุล + -า (mātula + -ā) |
→ | มาตุลา (mātulā) |
อันว่าลุงทั้งหลาย |
กสฺสก + -า (kassaka + -ā) |
→ | กสฺสกา (kassakā) |
อันว่าชาวนาทั้งหลาย |
การผันคำกริยากาลปัจจุบันสำหรับประธานบุรุษที่ 3
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]จากตารางคำศัพท์หมวดคำกริยาข้างบนนั้นเป็นรูปผันที่ประกอบจากต้นเค้าคำกริยา (verbal base) ภาส, ปจ, กส เป็นต้น รวมกับท้ายเสียง –ติ (-ti) ซึ่งบอกกาลปัจจุบัน บุรุษที่ 3 เอกพจน์
ส่วนการผันตามกาลปัจจุบัน บุรุษที่ 3 พหูพจน์นั้นให้เปลี่ยนท้ายเสียงจาก –ติ เป็น –นฺติ (-nti)
รูปผันดังกล่าวเมื่อแปลแล้วจะมีความหมายว่า "...อยู่", "ย่อม...", "จะ..." (หรือ "กำลัง..." หรือแปลเฉพาะคำกริยา)
ต้นเค้าคำกริยา + รูปผัน | กาลปัจจุบัน บุรุษที่สาม เอกพจน์ | ||
---|---|---|---|
ภาส + -ติ (bhāsa + -ti) |
→ | ภาสติ (bhāsati) |
(เขา) พูด, พูดอยู่, ย่อมพูด, จะพูด |
ปจ + -ติ (paca + -ti) |
→ | ปจติ (pacati) |
(เขา) ทำอาหารอยู่, ย่อมทำอาหาร, จะทำอาหาร |
กส + -ติ (kasa + -ti) |
→ | กสติ (kasati) |
(เขา) ไถนา, ไถนาอยู่, ย่อมไถนา, จะไถนา |
ต้นเค้าคำกริยา + รูปผัน | กาลปัจจุบัน บุรุษที่สาม พหูพจน์ | ||
ภาส + -นฺติ (bhāsa + -nti) |
→ | ภาสนฺติ (bhāsanti) |
(พวกเขา) พูด, พูดอยู่, ย่อมพูด, จะพูด |
ปจ + -นฺติ (paca + -nti) |
→ | ปจนฺติ (pacanti) |
(พวกเขา) ทำอาหารอยู่, ย่อมทำอาหาร ฯลฯ |
กส + -นฺติ (kasa + -nti) |
→ | กสนฺติ (kasanti) |
(พวกเขา) ไถนา, ไถนาอยู่ ฯลฯ |
การสร้างประโยค
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]- ประโยคในภาษาบาลีจะเรียงเป็น ประธาน + กริยา (SV, Subject Verb) หรืออาจเรียกเป็น ผู้ทำ + กริยา
- คำกริยามีการผันตามประธานเสมอ นั่นคือ ประธานเป็นเอกพจน์หรือพหูพจน์ กริยาก็ต้องผันเป็นเอกพจน์หรือพหูพจน์ตามลำดับ
นโร ภาสติ. อันว่าคน พูดอยู่ นรา ภาสนฺติ. อันว่าคนทั้งหลาย พูดอยู่ ผู้ทำ
(nom)กริยา
แบบฝึกหัด
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]จงผันคำนาม
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]จงผันคำนามเพศชายที่ลงท้ายด้วยเสียง อะ ต่อไปนี้ ให้อยู่ในรูปผู้ทำ ทั้งเอกพจน์และพหูพจน์ พร้อมแปลเป็นภาษาไทย
- กุมาร
- ปุริส
- ปุตฺต
- พฺราหฺมณ
- พุทฺธ
- ตถาคต
- สุคต
- ภูปาล
- มนุสฺส
- วาณิช
- สหาย
- สหายก
- มิตฺต
ตัวอย่างเฉลย | ||
---|---|---|
ต้นเค้าคำนาม | รูปผันผู้ทำ | |
เอกพจน์ | พหูพจน์ | |
ช. –ะ | โ– | –า |
กุมาร (เด็กชาย) |
กุมาโร (เด็กชาย) |
กุมารา (เด็กชายทั้งหลาย) |
ปุริส (ผู้ชาย) |
ปุริโส (ผู้ชาย) |
ปุริสา (พวกผู้ชาย) |
ปุตฺต (ลูกชาย) |
ปุตฺโต (ลูกชาย) |
ปุตฺตา (เหล่าลูกชาย) |
พฺราหฺมณ (พราหมณ์) |
พฺราหฺมโณ (พราหมณ์) |
พฺราหฺมณา (พราหมณ์ทั้งหลาย) |
พุทฺธ ตถาคต สุคต (พระพุทธเจ้า) |
พุทฺโธ ตถาคโต สุคโต (พระพุทธเจ้า) |
พุทฺธา ตถาคตา สุคตา (พระพุทธเจ้าทั้งหลาย)* |
ภูปาล (พระราชา) |
ภูปาโล (พระราชา) |
ภูปาลา (พระราชาทั้งหลาย) |
มนุสฺส (มนุษย์) |
มนุสฺโส (มนุษย์) |
มนุสฺสา (มนุษย์ทั้งหลาย) |
วาณิช (พ่อค้า) |
วาณิโช (มนุษย์) |
วาณิชา (เหล่าพ่อค้า) |
สหาย สหายก มิตฺต (เพื่อน) |
สหาโย สหายโก มิตฺโต (เพื่อน) |
สหายา สหายกา มิตฺตา (พวกเพื่อน ๆ) |
(*) พุทฺธ, ตถาคต, สุคต หมายถึง พระพุทธเจ้า ซึ่งมีองค์เดียว ปกติจึงใช้เฉพาะรูปเอกพจน์ |
จงผันคำกริยา
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]จงผันคำกริยาต่อไปนี้ ให้อยู่ในรูปกาลปัจจุบัน บุรุษที่สาม ทั้งเอกพจน์และพหูพจน์ พร้อมแปลเป็นภาษาไทย
- คจฺฉ
- ฉินฺท
- ธาว
- ปสฺส
- ภุญฺช
- สย
- อาคจฺฉ
ตัวอย่างเฉลย | ||
---|---|---|
ต้นเค้าคำกริยา | กาลปัจจุบัน บุรุษที่สาม | |
เอกพจน์ | พหูพจน์ | |
–ติ | –นฺติ | |
คจฺฉ (ไป) | คจฺฉติ | คจฺฉนฺติ |
ฉินฺท (ตัด) | ฉินฺทติ | ฉินฺทนฺติ |
ธาว (วิ่ง) | ธาวติ | ธาวนฺติ |
ปสฺส (เห็น, มอง, ดู) | ปสฺสติ | ปสฺสนฺติ |
ภุญฺช (กิน) | ภุญฺชติ | ภุญชนฺติ |
สย (นอน, หลับ) | สยติ | สยนฺติ |
อาคจฺฉ (มา) | อาคจฺฉติ | อาคจฺฉนฺติ |
จงแปลเป็นภาษาไทย
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]- ภูปาโล ภุญฺชติ. (Bhūpālo bhuñjati.)
- ปุตฺตา สยนฺติ. (Puttā sayanti.)
- วาณิชา สยนฺติ. (Vāṇijā sayanti.)
- พุทฺโธ ปสฺสติ. (Buddho passati.)
- กุมาโร ธาวติ. (Kumāro dhāvati.)
- มาตุโล กสติ. (Mātulo kasati.)
- พฺราหฺมณา ภาสนฺติ. (Brāhmaṇā bhāsanti.)
- มิตฺตา คจฺฉนฺติ. (Mittā gacchanti.)
- กสฺสกา ปจนฺติ. (Kassakā pacanti.)
- มนุสฺโส ฉินฺทติ. (Manusso chindati.)
- ปุริสา ธาวนฺติ. (Purisā dhāvanti.)
- สหายโก ภุญฺชติ. (Sahāyako bhuñjati.)
- ตถาคโต ภาสติ. (Tathāgato bhāsati.)
- นโร ปจติ. (Naro pacati.)
- สหายา กสนฺติ. (Sahāyā kasanti.)
- สุคโต อาคจฺฉติ. (Sugato āgacchati.)
ตัวอย่างเฉลย |
---|
|
จงแปลเป็นภาษาบาลี
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]- พวกบุตรวิ่งอยู่
- ลุงเห็น
- พ่อค้านอนอยู่
- พวกเด็กชายกำลังกิน
- พวกพ่อค้ากำลังไป
- ผู้ชายนอนหลับ
- พระราชาทั้งหลายเสด็จไป
- พราหมณ์ตัด
- เพื่อน ๆ พูดอยู่
- ชาวนากำลังไถนา
- พ่อค้ากำลังมา
- ลูกชายตัด
- พวกลุงพูดอยู่
- เด็กชายวิ่ง
- เพื่อนพูด
- พระพุทธเจ้าทอดพระเนตร
ตัวอย่างเฉลย |
---|
|
สารบัญ
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]- บทนำ - การอ่านออกเสียง
- บทที่ 1 - การผันคำนามเพศชายที่ลงท้ายด้วยเสียง อะ ที่ทำหน้าที่เป็นผู้ทำ รูปเอกพจน์และพหูพจน์, การผันกริยากาลปัจจุบันสำหรับประธานบุรุษที่ 3 เอกพจน์และพหูพจน์
- บทที่ 2 - การผันคำนามเพศชายที่ลงท้ายด้วยเสียง อะ ที่ทำหน้าที่เป็นกรรมตรง รูปเอกพจน์และพหูพจน์
- บทที่ 3 - การผันคำนามเพศชายที่ลงท้ายด้วยเสียง อะ ที่ทำหน้าที่เป็นเครื่องทำ รูปเอกพจน์และพหูพจน์
- บทที่ 4 - การผันคำนามเพศชายที่ลงท้ายด้วยเสียง อะ ที่ทำหน้าที่เป็นต้นกำเนิด รูปเอกพจน์และพหูพจน์
- บทที่ 5 - การผันคำนามเพศชายที่ลงท้ายด้วยเสียง อะ ที่ทำหน้าที่เป็นกรรมรอง รูปเอกพจน์และพหูพจน์
- บทที่ 6 - การผันคำนามเพศชายที่ลงท้ายด้วยเสียง อะ ที่ทำหน้าที่เป็นเจ้าของ รูปเอกพจน์และพหูพจน์
- บทที่ 7 - การผันคำนามเพศชายที่ลงท้ายด้วยเสียง อะ ที่ทำหน้าที่เป็นสถานที่ รูปเอกพจน์และพหูพจน์
- บทที่ 8 - การผันคำนามเพศชายที่ลงท้ายด้วยเสียง อะ ที่ทำหน้าที่เป็นคำร้องเรียก รูปเอกพจน์และพหูพจน์, การผันคำนามเพศกลางที่ลงท้ายด้วยเสียง อะ
- บทที่ 9 - การสร้างคำนามจากกริยา
- บทที่ 10 - การผันคำกริยาเพื่อไม่ให้ระบุกาล
- บทที่ 11 - การผันคำกริยาเพื่อบอกเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้น ณ ปัจจุบัน, การผันคำนามเพศชายและเพศกลาง
- บทที่ 12 - การผันคำกริยาในกาลปัจจุบัน และบอกความเป็นผู้กระทำ
- บทที่ 13 - การผันคำกริยาในกาลปัจจุบัน และบอกความเป็นผู้กระทำ (ภาคต่อ)
- บทที่ 14 - การผันคำกริยาเพื่อบอกกาลอนาคต
- บทที่ 15 - การผันคำกริยาเพื่อบอกความเป็นไปได้และคำแนะนำ
- บทที่ 16 - การผันคำกริยาเพื่อบอกคำสั่ง
- บทที่ 17 - การผันคำกริยาเพื่อบอกกาลอดีต
- บทที่ 18 - การผันคำนามเพศหญิงที่ลงท้ายด้วยเสียง อา
- บทที่ 19 - การผันคำกริยาเพื่อบอกเหตุการณ์ที่เพิ่งเกิดขึ้น
- บทที่ 20 - การผันคำนามเพศหญิงที่ลงท้ายด้วยเสียง อิ และ อี
- บทที่ 21 - การผันคำกริยาเพื่อบอกเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้น ณ ปัจจุบัน (ภาคต่อ), การผันคำนามเพศหญิง
- บทที่ 22 - การผันคำกริยาเพื่อบอกความเป็นผู้ถูกกระทำในกาลอนาคต
- บทที่ 23 - การผันคำกริยาเพื่อบอกการไหว้วานหรือการบังคับ
- บทที่ 24 - การผันคำนามเพศหญิงที่ลงท้ายด้วยเสียง อุ
- บทที่ 25 - การผันคำนามเพศชายที่ลงท้ายด้วยเสียง อิ
- บทที่ 26 - การผันคำนามเพศชายที่ลงท้ายด้วยเสียง อี
- บทที่ 27 - การผันคำนามเพศชายที่ลงท้ายด้วยเสียง อุ และ อู
- บทที่ 28 - การผันคำนามของผู้กระทำกริยา และคำนามที่บ่งบอกความสัมพันธ์ทางเครือญาติ
- บทที่ 29 - การผันคำนามเพศกลางที่ลงท้ายด้วยเสียง อิ และ อุ
- บทที่ 30 - การผันคำคุณศัพท์ที่ลงท้ายด้วย -วนฺตุ และ -มนฺตุ
- บทที่ 31 - การผันคำสรรพนามบอกบุรุษ
- บทที่ 32 - การผันคำสรรพนามบอกบุรุษ สรรพนามบอกความสัมพันธ์ สรรพนามบอกระยะ และสรรพนามบอกคำถาม
- ภาคผนวก - รายการคำกริยาในภาษาบาลี, รายการคำที่นอกเหนือจากคำกริยาในภาษาบาลี