ข้ามไปเนื้อหา

ภาษาบาลีสำหรับผู้เริ่มต้น/บทที่ 4

จาก วิกิตำรา

บทที่ 4 ศัพท์ใหม่แบ่งเป็นคำนาม 16 คำและคำกริยา 10 คำ

คำศัพท์ ความหมาย
อักษรไทย อักษรละติน
คำนาม
(เพศชาย ลงท้ายด้วยเสียง อะ)
อมจฺจ amacca อำมาตย์
อุปาสก upāsaka อุบาสก
ทารก dāraka เด็ก, ทารก
ธีวร dhīvara ชาวประมง
ปญฺห pañha คำถาม, ปัญหา
ปาสาท pāsāda วัง, ปราสาท
ปิฏก piṭaka ตะกร้า
มจฺฉ maccha ปลา, มัจฉา
รชก rajaka คนซักผ้า
สปฺป sappa งู
สาฏก sāṭaka เสื้อผ้า
สุก, สุว suka, suva นกแก้ว
สูกร, วราห sūkara, varāha หมู, สุกร
โสปาน sopāna บันได
คำกริยา
(ผันตามกาลปัจจุบัน บุรุษที่สาม เอกพจน์)
อิจฺฉติ icchati ปรารถนา, ต้องการ
โอตรติ otarati ลง
ขาทติ khādati กิน
ฑสติ ḍasati กัด
โธวติ dhovati ซัก, ล้าง
นิกฺขมติ nikkhamati ออก, ออกเดินทาง
ปกฺโกสติ pakkosati เรียก
ปตติ patati ตก
ปุจฺฉติ pucchati ถาม, ปุจฉา
หนติ hanati ฆ่า

การผันคำนามเพศชายที่ลงท้ายด้วยเสียง อะ ที่ทำหน้าที่เป็นที่มา

[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

คำนามที่ทำหน้าที่เป็นที่มาของกริยาหรือที่ที่จากมาหรือจากไปของประโยค เรียกว่า อปาทานการก (ablative case) ในภาษาบาลีเรียกว่า ปัญจมี หรือการผันคำนามลำดับที่ห้า ประโยค ฉันขอขนมจากแม่ คำว่าแม่ทำหน้าที่เป็นที่มาของกริยา โดยใช้คำบุพบท "จาก" เป็นตัวบ่งชี้ที่มาของกริยา

การผันคำนามเพศชายที่ลงท้ายด้วยเสียง อะ (-a) ทำหน้าที่เป็นที่มาของกริยา เมื่อแปลจะมีความหมายว่า "จาก...", "แต่...", "กว่า..." มีหลักการผันดังนี้

  • รูปเอกพจน์ในการกนี้ให้เติม –า หรือ –มฺหา หรือ –สฺมา (-ā, -mhā, -smā) ท้ายต้นเค้าคำนาม ที่มีการผันได้หลายแบบ ก็เพื่อให้สามารถลงสัมผัสในคำประพันธ์ได้ นอกจากนี้ยังมีข้อสังเกตว่า รูปผัน –า เหมือนกับการผันคำนามรูปผู้ทำ พหูพจน์ (บทที่ 1) ผู้อ่านจะสามารถแยกแยะได้โดยใช้ลำดับคำในภาษาบาลี
ต้นเค้าคำนาม + รูปผัน ที่มา เอกพจน์
นร + -า/-มฺหา/-สฺมา
(nara + -ā/-mhā/-smā)
นรา, นรมฺหา, นรสฺมา
(narā, naramhā, narasmā)
จากคน, จากผู้ชาย
กสฺสก + -า/-มฺหา/-สฺมา
(kassaka + -ā/-mhā/-smā)
กสฺสกา, กสฺสกมฺหา, กสฺสกสฺมา
(kassakā, kassakamhā, kassakasmā)
จากชาวนา
คาม + -า/-มฺหา/-สฺมา
(gāma + -ā/-mhā/-smā)
คามา, คามมฺหา, คามสฺมา
(gāmā, gāmamhā , gāmasmā)
จากหมู่บ้าน
  • รูปพหูพจน์ในการกนี้ให้เติม เ–หิ หรือ เ–ภิ (-ehi, -ebhi) ท้ายต้นเค้าคำนาม รูป "เ–ภิ" เป็นรูปผันโบราณที่ยังพบได้บ้าง สังเกตว่ารูปผันทั้งสองรูปยังเหมือนกับการผันคำนามรูปเครื่องทำ พหูพจน์ (บทที่ 3)
ต้นเค้าคำนาม + รูปผัน ที่มา พหูพจน์
นร + เ-หิ/เ-ภิ
(nara + -ehi/-ebhi)
นเรหิ, นเรภิ
(narehi, narebhi)
จากคนทั้งหลาย, จากผู้ชายทั้งหลาย
กสฺสก + เ-หิ/เ-ภิ
(kassaka + -ehi/-ebhi)
กสฺสเกหิ, กสฺสเกภิ
(kassakehi, kassakebhi)
จากชาวนาทั้งหลาย
คาม + เ-หิ/เ-ภิ
(gāma + -ehi/-ebhi)
คาเมหิ, คาเมภิ
(gāmehi, gāmebhi)
จากหมู่บ้านทั้งหลาย

การสร้างประโยค

[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

โครงสร้างของประโยคที่มีที่มาของกริยา จะเรียงลำดับเป็น ผู้ทำ + เครื่องทำ + ที่มา + ผู้ถูกทำ (กรรมตรง) + กริยา. (S Inst. Source O V)

ผู้ทำ
(nom)
ที่มา
(inst)
ผู้ถูกทำ
(acc)
กริยา
ยาจโก นรมฺหา ภตฺตํ ยาจติ. ขอทานขอข้าวจากคน (แปลตามตัว: อันว่าขอทาน ขออยู่ ซึ่งข้าว จากคน)
วาณิชา คามสฺมา นิกฺขมนฺติ. พวกพ่อค้ากำลังออกจากหมู่บ้าน (แปลตามตัว: อันว่าพวกพ่อค้า กำลังออก จากหมู่บ้าน)

ตัวอย่างประโยคในลักษณะต่าง ๆ

  1. ปุตฺโต มาตุลมฺหา ปัญฺเห ปุจฺฉติ. – บุตรถามปัญหาทั้งหลายจากลุง
  2. ปุตฺตา มาตุลา ปัญฺเห ปุจฺฉนฺติ. – พวกบุตรถามปัญหาทั้งหลายจากลุง
  3. กสฺสกา รุกฺเขหิ ปตนฺติ. – พวกชาวนาตกจากต้นไม้ทั้งหลาย

จงผันคำนาม

[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

จงผันคำนามเพศชายที่ลงท้ายด้วยเสียง อะ ต่อไปนี้ ให้อยู่ในรูปที่มาของกริยา ทั้งเอกพจน์และพหูพจน์

  1. ปุริส
  2. ปพฺพต
  3. รุกฺข
  4. ทีป
  5. สคฺค
  6. พฺราหฺมณ
  7. พุทฺธ
  8. ปณฺฑิต
  9. อมจฺจ
  10. ปาสาท
ตัวอย่างเฉลย
ต้นเค้าคำนาม รูปผันที่มา
เอกพจน์ พหูพจน์
ช. –ะ –า, –มฺหา, –สฺมา เ–หิ, เ–ภิ
ปุริส ปุริสา, ปุริสมฺหา, ปุริสสฺมา ปุริเสหิ, ปุริเสภิ
ปพฺพต ปพฺพตา, ปพฺพตมฺหา, ปพฺพตสฺมา ปพฺพเตหิ, ปพฺพเตภิ
รุกฺข รุกฺขา, รุกฺขมฺหา, รุกฺขสฺมา รุกฺเขหิ, รุกฺเขภิ
ทีป ทีปา, ทีปมฺหา, ทีปสฺมา ทีเปหิ, ทีเปภิ
สคฺค สคฺคา, สคฺคมฺหา, สคฺคสฺมา สคฺเคหิ, สคฺเคภิ
พฺราหฺมณ พฺราหฺมณา, พฺราหฺมณมฺหา, พฺราหฺมณสฺมา พฺราหฺมเณหิ, พฺราหฺมเณภิ
พุทฺธ พุทฺธา, พุทฺธมฺหา, พุทฺธสฺมา พุทฺเธหิ, พุทฺเธภิ
ปณฺฑิต ปณฺฑิตา, ปณฺฑิตมฺหา, ปณฺฑิตสฺมา ปณฺฑิเตหิ, ปณฺฑิเตภิ
อมจฺจ อมจฺจา, อมจฺจมฺหา, อมจฺจสฺมา อมจฺเจหิ, อมจฺเจภิ
ปาสาท ปาสาทา, ปาสาทมฺหา, ปาสาทสฺมา ปาสาเทหิ, ปาสาเทภิ

จงแปลเป็นภาษาไทย

[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]
  1. โจรา คามมฺหา ปพฺพตํ ธาวนฺติ.
    Corā gāmamhā pabbataṃ dhāvanti.
  2. ทารโก มาตุลสฺมา โอทนํ ยาจติ.
    Dārako mātulasmā odanaṃ yācati.
  3. กุมาโร โสปานมฺหา ปตติ.
    Kumāro sopānamhā patati.
  4. มาตุลา สาฏเก โธวนฺติ.
    Mātulā sāṭake dhovanti.
  5. ธีวรา ปิฏเกหิ มจฺเฉ อาหรนฺติ.
    Dhīvarā piṭakehi macche āharanti.
  6. อุปสกา สมเณหิ สทฺธิงฺ วิหารสฺมา นิกขมนฺติ.
    Upāsakā samaṇehi saddhiṃ vihārasmā nikkhamanti.
  7. พฺราหฺมโณ กกเจน รุกฺขํ ฉินฺทติ.
    Brāhmaṇo kakacena rukkhaṃ chindati.
  8. กุมารา มิตฺเตหิ สห ภูปาลํ ปสฺสนฺติ.
    Kumārā mittehi saha bhūpālaṃ passanti.
  9. วาณิโช อสฺเสน สทฺธิงฺ ปพฺพตสฺมา โอรุหติ.
    Vāṇijo assena saddhiṃ pabbatasmā oruhati.
  10. ยาจโก กสฺสกสฺมา ปตฺเต ยาจติ.
    Yācako kassakasmā patte yācati.
  11. สปฺปา ปฺพพเตหิ คามํ โอตรนฺติ.
    Sappā pabbatehi gāmaṃ otaranti.
  12. อมจฺจา สเรหิ มิเค วิชฺฌนฺติ.
    Amaccā sarehi mige vijjhanti.
  13. โจโร คามมฺหา สกเฏน สาฏเก หรติ.
    Coro gāmamhā sakaṭena sāṭake harati.
  14. ภูปาโล อมจฺเจหิ สทฺธิงฺ รเถน ปาสาทํ อาคจฺฉติ.
    Bhūpālo amaccehi saddhiṃ rathena pāsādaṃ āgacchati.
  15. Sūkarā pādehi āvāṭe khaṇanti.
  16. Kumāro sahāyakehi saha sāṭake dhovati.
  17. Samaṇā gāmamhā upāsakehi saddhiṃ nikkhamanti.
  18. Kukkuro piṭakamhā macchaṃ khādati.
  19. Mitto puttamhā sunakhaṃ yācati.
  20. Buddho sāvake pucchati.
  21. Amaccā paṇḍitehi pañhe pucchanti.
  22. Rajako sahāyena saha sāṭakaṃ dhovati.
  23. Macchā piṭakamhā patanti.
  24. Corā pāsāṇehi varāhe paharanti.
  25. Amacco pāsādamhā suvaṃ āharati.
ตัวอย่างเฉลย
  1. พวกโจรวิ่งจากหมู่บ้านไปยังภูเขา
  2. เด็กขอข้าวสวยจากลุง
  3. เด็กชายตกจากบันได
  4. พวกลุงซักเสื้อผ้าทั้งหลาย
  5. เหล่าชาวประมงนำปลาทั้งหลายมาด้วยตะกร้าทั้งหลาย (ปิฏเกหิเป็นเครื่องทำ)
  6. เหล่าอุบาสกออกจากวิหารพร้อมกับเหล่าภิกษุ
  7. พราหมณ์ตัดต้นไม้ด้วยเลื่อย
  8. เหล่าเด็ก ๆ พร้อมกับเพื่อน ๆ เห็นพระราชา
  9. พ่อค้าลงจากภูเขาพร้อมด้วยม้า
  10. ขอทานขอถ้วยทั้งหลายจากชาวนา
  11. เหล่างูลงจากภูเขาไปสู่หมู่บ้าน
  12. เหล่าอำมาตย์ยิงหมู่กวางด้วยศรทั้งหลาย
  13. ขโมยนำเสื้อผ้าทั้งหลายไปจากหมู่บ้านด้วยเกวียน
  14. พระราชาเสด็จมายังวังด้วยรถม้าพร้อมด้วยเหล่าอำมาตย์

จงแปลเป็นภาษาบาลี

[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]
  1. พวกม้าวิ่งจากหมู่บ้านไปยังภูเขา
  2. พวกพ่อค้ามาจากเกาะไปยังวิหารพร้อมด้วยอุบาสกทั้งหลาย
  3. พวกขโมยยิงหมูทั้งหลายด้วยศรทั้งหลาย
  4. อุบาสกถามเรื่องธรรมะจากพระสงฆ์
  5. เด็กตกจากหินพร้อมกับเพื่อน
  6. สุนัขกัดเด็ก
  7. อำมาตย์ทั้งหลายออกเดินทางจากพระราชวังพร้อมด้วยพระราชา
  8. ผู้ชายนำกวางมาจากเกาะ
  9. ชาวนาลงมาจากต้นไม้
  10. สุนัขทั้งหลายวิ่งไปด้วย (ตาม) ถนนพร้อมกับพวกม้า
  11. พวกเด็กผู้ชายนำตะเกียงทั้งหลายไปจากพวกพ่อค้า
  12. ขโมยลงจากบันได
  13. พวกพ่อค้านำนกแก้วทั้งหลายมาจากภูเขาทั้งหลาย
  14. ม้าทำร้ายงูใหญ่ด้วยเท้า
  15. ลุงพร้อมกับพวกเพื่อนเห็นพระสงฆ์ทั้งหลายจากภูเขาทั้งหลาย
  16. พวกพ่อค้านำม้าทั้งหลายจากเกาะมาสู่พระราชวัง
  17. อำมาตย์ถามขโมย
  18. ชาวนากินข้าวพร้อมกับคนซักล้าง
  19. เด็กตกจากบันได
  20. ชาวประมงปีนภูเขาพร้อมกับลุง
  21. ยาจกนอนพร้อมกับสุนัข
  22. เหล่าพระราชาปกป้องเกาะทั้งหลายพร้อมกับอมาตย์ทั้งหลาย
  23. พระราชากราบพระพุทธเจ้าจากพระราชวัง
  24. ผู้ชายฆ่างูใหญ่ด้วยดาบ
  25. ชาวประมงนำปลามาสู่หมู่บ้านด้วยเกวียน
  26. สุกรทั้งหลายวิ่งจากหมู่บ้านไปสู่ภูเขา
  27. เหล่าอุบาสกถามคำถามทั้งหลายจากบัณฑิต
  28. บุตรชายนำนกแก้วมาจากต้นไม้
  29. เหล่าบัณฑิตไปยังวิหาร
  30. เหล่าสาวกไปด้วย (ตาม) ถนนไปสู่หมู่บ้าน
บทนำ - การอ่านออกเสียง
บทที่ 1 - การผันคำนามเพศชายที่ลงท้ายด้วยเสียง อะ ที่ทำหน้าที่เป็นผู้ทำ รูปเอกพจน์และพหูพจน์, การผันกริยากาลปัจจุบันสำหรับประธานบุรุษที่ 3 เอกพจน์และพหูพจน์
บทที่ 2 - การผันคำนามเพศชายที่ลงท้ายด้วยเสียง อะ ที่ทำหน้าที่เป็นกรรมตรง รูปเอกพจน์และพหูพจน์
บทที่ 3 - การผันคำนามเพศชายที่ลงท้ายด้วยเสียง อะ ที่ทำหน้าที่เป็นเครื่องทำ รูปเอกพจน์และพหูพจน์
บทที่ 4 - การผันคำนามเพศชายที่ลงท้ายด้วยเสียง อะ ที่ทำหน้าที่เป็นต้นกำเนิด รูปเอกพจน์และพหูพจน์
บทที่ 5 - การผันคำนามเพศชายที่ลงท้ายด้วยเสียง อะ ที่ทำหน้าที่เป็นกรรมรอง รูปเอกพจน์และพหูพจน์
บทที่ 6 - การผันคำนามเพศชายที่ลงท้ายด้วยเสียง อะ ที่ทำหน้าที่เป็นเจ้าของ รูปเอกพจน์และพหูพจน์
บทที่ 7 - การผันคำนามเพศชายที่ลงท้ายด้วยเสียง อะ ที่ทำหน้าที่เป็นสถานที่ รูปเอกพจน์และพหูพจน์
บทที่ 8 - การผันคำนามเพศชายที่ลงท้ายด้วยเสียง อะ ที่ทำหน้าที่เป็นคำร้องเรียก รูปเอกพจน์และพหูพจน์, การผันคำนามเพศกลางที่ลงท้ายด้วยเสียง อะ
บทที่ 9 - การสร้างคำนามจากกริยา
บทที่ 10 - การผันคำกริยาเพื่อไม่ให้ระบุกาล
บทที่ 11 - การผันคำกริยาเพื่อบอกเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้น ณ ปัจจุบัน, การผันคำนามเพศชายและเพศกลาง
บทที่ 12 - การผันคำกริยาในกาลปัจจุบัน และบอกความเป็นผู้กระทำ
บทที่ 13 - การผันคำกริยาในกาลปัจจุบัน และบอกความเป็นผู้กระทำ (ภาคต่อ)
บทที่ 14 - การผันคำกริยาเพื่อบอกกาลอนาคต
บทที่ 15 - การผันคำกริยาเพื่อบอกความเป็นไปได้และคำแนะนำ
บทที่ 16 - การผันคำกริยาเพื่อบอกคำสั่ง
บทที่ 17 - การผันคำกริยาเพื่อบอกกาลอดีต
บทที่ 18 - การผันคำนามเพศหญิงที่ลงท้ายด้วยเสียง อา
บทที่ 19 - การผันคำกริยาเพื่อบอกเหตุการณ์ที่เพิ่งเกิดขึ้น
บทที่ 20 - การผันคำนามเพศหญิงที่ลงท้ายด้วยเสียง อิ และ อี
บทที่ 21 - การผันคำกริยาเพื่อบอกเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้น ณ ปัจจุบัน (ภาคต่อ), การผันคำนามเพศหญิง
บทที่ 22 - การผันคำกริยาเพื่อบอกความเป็นผู้ถูกกระทำในกาลอนาคต
บทที่ 23 - การผันคำกริยาเพื่อบอกการไหว้วานหรือการบังคับ
บทที่ 24 - การผันคำนามเพศหญิงที่ลงท้ายด้วยเสียง อุ
บทที่ 25 - การผันคำนามเพศชายที่ลงท้ายด้วยเสียง อิ
บทที่ 26 - การผันคำนามเพศชายที่ลงท้ายด้วยเสียง อี
บทที่ 27 - การผันคำนามเพศชายที่ลงท้ายด้วยเสียง อุ และ อู
บทที่ 28 - การผันคำนามของผู้กระทำกริยา และคำนามที่บ่งบอกความสัมพันธ์ทางเครือญาติ
บทที่ 29 - การผันคำนามเพศกลางที่ลงท้ายด้วยเสียง อิ และ อุ
บทที่ 30 - การผันคำคุณศัพท์ที่ลงท้ายด้วย -วนฺตุ และ -มนฺตุ
บทที่ 31 - การผันคำสรรพนามบอกบุรุษ
บทที่ 32 - การผันคำสรรพนามบอกบุรุษ สรรพนามบอกความสัมพันธ์ สรรพนามบอกระยะ และสรรพนามบอกคำถาม
ภาคผนวก - รายการคำกริยาในภาษาบาลี, รายการคำที่นอกเหนือจากคำกริยาในภาษาบาลี