ภาษาบาลีสำหรับผู้เริ่มต้น/บทที่ 6
การผันรูปคำนามเพศชาย อะ การันต์ ในสัมพันธการก
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]การผันรูปคำนามเพศชายที่ลงท้ายด้วยเสียง อะ (-a) ให้ทำหน้าที่แสดงความเป็นเจ้าของ มีหลักการดังนี้
ความเป็นเจ้าของ หรือ สัมพันธการก ในภาษาบาลีถือเป็นวิภัตตินามลำดับที่หก (ฉัฏฐี) ภาษาอังกฤษเรียก genitive case ตัวอย่างประโยคที่แสดงลักษณะความเป็นเจ้าของ เช่น บ้านของลุง – ลุง ทำหน้าที่เป็น "เจ้าของ" โดยมีคำว่า ของ เป็นตัวบ่ง เมื่อแปลนามที่ทำหน้าที่แสดงความเป็นเจ้าของจากบาลีเป็นไทย จะให้ความหมายว่า แห่ง... หรือ ของ... (หรือ เมื่อ... สำหรับอนาทร) |
- 1. ถ้าต้องการให้เป็นเอกพจน์ ให้เติม -สฺส (-ssa) ลงที่ท้ายต้นเค้าคำนาม
นร
(nara+ -สฺส
-ssa)= นรสฺส
(narassa)(แห่งผู้ชาย, ของผู้ชาย) มาตุล
(mātula+ -สฺส
-ssa)= มาตุลสฺส
(mātulassa)(แห่งลุง, ของลุง) กสฺสก
(kassaka+ -สฺส
-ssa)= กสฺสกสฺส
(kassakassa)(แห่งชาวนา, ของชาวนา)
- 2. ถ้าต้องการให้เป็นพหูพจน์ ให้เติม -านํ (-ānaṃ) ลงที่ท้ายต้นเค้าคำนาม
นร
(nara+ -านํ
-ānaṃ)= นรานํ
(narānaṃ)(แห่งผู้ชายทั้งหลาย, ของพวกผู้ชาย) มาตุล
(mātula+ -านํ
-ānaṃ)= มาตุลานํ
(mātulānaṃ)(แห่งลุงทั้งหลาย, ของพวกลุง) กสฺสก
(kassaka+ -านํ
-ānaṃ)= กสฺกานํ
(kassakānaṃ)(แห่งชาวนาทั้งหลาย, ของพวกชาวนา)
สังเกตว่าการผันเหมือนกับการผันคำนามชนิดเดียวกัน (เพศชาย อะ การันต์) ในรูปกรรมรอง (บทที่ 5) ทั้งรูปเอกพจน์และพหูพจน์
ตัวอย่างคำศัพท์อื่น ๆ
ต้นเค้าคำนาม | รูปผันเจ้าของ เอกพจน์ | รูปผันเจ้าของ พหูพจน์ | ต้นเค้าคำนาม | รูปผันเจ้าของ เอกพจน์ | รูปผันเจ้าของ พหูพจน์ |
---|---|---|---|---|---|
มนุสฺส (มนุษย์) |
มนุสฺสสฺส (ของมนุษย์) |
มนุสฺสานํ (ของมนุษย์ทั้งหลาย) |
ยาจก (ขอทาน) |
ยาจกสฺส (ของขอทาน) |
ยาจกานํ (ของเหล่าขอทาน) |
พฺราหฺมณ (พราหมณ์) |
พฺราหฺมณสฺส (ของพราหมณ์) |
พฺราหฺมณานํ (ของเหล่าพราหมณ์) |
รถ (รถ) |
รถสฺส (ของรถ) |
รถานํ (ของรถทั้งหลาย) |
กุมาร (เด็กชาย) |
กุมารสฺส (ของเด็กชาย) |
กุมารานํ (ของพวกเด็กชาย) |
อสฺส (ม้า) |
อสฺสสฺส (ของม้า) |
อสฺสานํ (ของม้าทั้งหลาย) |
ปุตฺต (บุตร) |
ปุตฺตสฺส (ของบุตร) |
ปุตฺตานํ (ของบุตรทั้งหลาย) |
โจร (โจร) |
โจรสฺส (ของโจร) |
โจรานํ (ของเหล่าโจร) |
คาม (หมู่บ้าน) |
คามสฺส (ของหมู่บ้าน) |
คามานํ (ของหมู่บ้านทั้งหลาย) |
สมณ (พระสงฆ์) |
สมณสฺส (แห่งพระสงฆ์) |
สมณานํ (แห่งพระสงฆ์ทั้งหลาย) |
รุกฺข (ต้นไม้) |
รุกฺขสฺส (ของต้นไม้) |
รุกฺขานํ (ของต้นไม้ทั้งหลาย) |
ปญฺฑิต (ผู้ฉลาด) |
ปญฺฑิตสฺส (ของผู้ฉลาด) |
ปญฺฑิตานํ (ของผู้ฉลาดทั้งหลาย) |
การใช้
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]ภาษาบาลีจะวางเจ้าของไว้ข้างหน้าสิ่งที่เป็นของเจ้าของนั้น เพื่อให้เห็นภาพจะแสดงตัวอย่างดังนี้
นรสฺส ปุตฺโต
(narassa putto)= บุตรของผู้ชาย (สังเกตทั้งประธานและเจ้าของเป็นเอกพจน์) นรสฺส ปุตฺตา
(narassa puttā)= บุตรทั้งหลายของผู้ชาย (สังเกตประธานเป็นพหูพจน์แต่เจ้าของเป็นเอกพจน์) นรานํ ปุตฺตา
(narānaṃ puttā)= บุตรทั้งหลายของผู้ชายทั้งหลาย (สังเกตทั้งประธานและเจ้าของเป็นพหูพจน์)
ตัวอย่างประโยค
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]เอกพจน์
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]นรสฺส ปุตฺโต ภตฺตํ ยาจติ.
(Narassa putto bhattaṃ yācati.)= บุตรของผู้ชายขอข้าว
แปลตามคำ: นรสฺส (ของผู้ชาย), ปุตฺโต (อันบุตร), ภตฺตํ (ซึ่งข้าว), ยาจติ (ขอ)
อธิบายไวยากรณ์: นร → นรสฺส (เจ้าของ เอกพจน์), ปุตฺต → ปุตฺโต (ประธาน เอกพจน์), ภตฺต → ภตฺตํ (กรรมตรง เอกพจน์), ยาจติ (กริยาผันตามประธานบุรุษที่สามเอกพจน์ กาลปัจจุบัน)
มาตุลสฺส สหายโก รถํ อาหรติ.
(Mātulassa sahāyako rathaṃ āharati.)= เพื่อนของลุงนำรถมา
แปลตามคำ: มาตุลสฺส (ของลุง), สหายโก (อันเพื่อน), รถํ (ซึ่งรถ/พาหนะ), อาหรติ (นำมา, พามา)
อธิบายไวยากรณ์: มาตุล → มาตุลสฺส (เจ้าของ เอกพจน์); สหายก → สหายโก (ประธาน เอกพจน์); รถ → รถํ (กรรมตรง เอกพจน์); อาหรติ (กริยาผันตามประธานบุรุษที่สามเอกพจน์ กาลปัจจุบัน)
กสฺสกสฺส สูกโร ทีปํ ธาวติ.
(Kassakassa sūkaro dīpaṃ dhāvati.)= หมูของชาวนาวิ่งไปยังเกาะ
แปลตามคำ: กสฺสกสฺส (ของชาวนา), สูกโร (อันสุกร), ทีปํ (ยังเกาะ, สู่เกาะ), ธาวติ (วิ่ง)
อธิบายไวยากรณ์: กสฺสก → กสฺสกสฺส (เจ้าของ เอกพจน์); สูกร → สูกโร (ประธาน เอกพจน์); ทีป → ทีปํ (กรรมตรง เอกพจน์ ในที่นี้ทำหน้าที่เป็นจุดหมายของการเคลื่อนที่); ธาวติ (กริยาผันตามประธานบุรุษที่สามเอกพจน์ กาลปัจจุบัน)
พหูพจน์
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]นรานํ ปุตฺตา ภตฺตํ ยาจนฺติ.
(Narānaṃ puttā bhattaṃ yācanti.)= บุตรทั้งหลายของผู้ชายทั้งหลายขอข้าว
แปลตามคำ: นรานํ (ของผู้ชายทั้งหลาย), ปุตฺตา (อันบุตรทั้งหลาย), ภตฺตํ (ซึ่งข้าว), ยาจนฺติ (ขอ)
อธิบายไวยากรณ์: นร → นรานํ (เจ้าของ พหูพจน์), ปุตฺต → ปุตฺตา (ประธาน พหูพจน์), ภตฺต → ภตฺตํ (กรรมตรง เอกพจน์), ยาจติ → ยาจนฺติ (กริยาผันตามประธานบุรุษที่สามพหูพจน์ กาลปัจจุบัน)
มาตุลานํ สหายกา รเถ อาหรนฺติ.
(Mātulānaṃ sahāyakā rathe āharanti.)= เหล่าเพื่อน ๆ ของลุงทั้งหลายนำรถทั้งหลายมา
แปลตามคำ: มาตุลานํ (ของลุงทั้งหลาย), สหายกา (อันเพื่อนทั้งหลาย), รเถ (ซึ่งรถทั้งหลาย), อาหรนฺติ (ขอ)
อธิบายไวยากรณ์: มาตุล → มาตุลานํ (เจ้าของ พหูพจน์); สหายก → สหายกา (ประธาน พหูพจน์); รถ → รเถ (กรรมตรง พหูพจน์); อาหรติ → อาหรนฺติ (กริยาผันตามประธานบุรุษที่สามพหูพจน์ กาลปัจจุบัน)
กสฺสกานํ สูกรา ทีเป ธาวนฺติ.
(Kassakānaṃ sūkarā dīpe dhāvanti.)= พวกหมูของชาวนาทั้งหลายวิ่งไปยังหมู่เกาะ
แปลตามคำ: กสฺสกานํ (ของชาวนาทั้งหลาย), สูกรา (อันสุกรทั้งหลาย), ทีเป (ยังหมู่เกาะ, สู่หมู่เกาะ), ธาวนฺติ (วิ่ง)
อธิบายไวยากรณ์: กสฺสก → กสฺสกานํ (เจ้าของ พหูพจน์); สูกร → สูกรา (ประธาน พหูพจน์); ทีป → ทีเป (กรรมตรง พหูพจน์ ในที่นี้ทำหน้าที่เป็นจุดหมายของการเคลื่อนที่); ธาวติ → ธาวนฺติ (กริยาผันตามประธานบุรุษที่สามพหูพจน์ กาลปัจจุบัน)
แบบฝึกหัด
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]จงแปลเป็นภาษาไทย
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]- กสฺสกสฺส ปุตฺโต เวชฺชสฺส สหาเยน สทฺธึ อาคจฺฉติ
- พฺราหฺมณสฺส กุทฺทาโล หตฺถมฺหา ปตติ
- มิคา อาวาเฏหิ นิกฺขมนฺติ
- วาณิชานํ อสฺสา กสฺสกสฺส คามํ ธาวนฺติ
- มาตุลสฺส มิตฺโต ตถาคตสฺส สาวเก วนฺทติ
- อมจฺโจ ภูปาลสฺส ขคฺเคน สปฺปํ ปหรติ
- วาณิชา คาเม มนุสฺสานํ ปิฏเกหิ มจฺเฉ อาหรนฺติ
- โจโร เวชฺชสฺส สกเฏน มิตฺเตน สห คามมฺหา นิกฺขมติ
- อุปาสกสฺส ปุตฺตา สมเณหิ สห วิหารํ คจฺฉนฺติ
- ยาจโก อมจฺจสฺส สาฏกํ อิจฺฉติ
- มิตฺตานํ มาตุลา ตาปสานํ โอทนํ ททนฺติ
- ธีวรสฺส กกเจน โจโร กุกฺกุรํ ปหรติ
- ภูปาลสฺส ปุตฺโต อมจฺจสฺส อสฺสํ อารุหติ
- ปณฺฑิตสฺส ปุตฺตา พุทฺธสฺส สาวเกน สห วิหารํ ปวิสนฺติ
- สุริโย มนุเสฺส รกฺขติ
- เวชฺชสฺส สุนโข อาจริยสฺส โสปานมฺหา ปตติ
- รชกา รุกฺเขหิ โอรุหนฺติ
- ยาจกสฺส ทารกา โรทนฺติ
- ลุทฺทกสฺส ปุตฺตา โจรสฺส ทารเกหิ สทฺธึ กีฬนฺติ
- ตาปโส ตถาคตสฺส สาวกานํ โอทนํ ททาติ
- สมณา อาจริยสฺส หตฺเถน สาฏเก ลภนฺติ
- โจโร วาณิชสฺส สหายกสฺมา อสฺสํ ยาจติ
- อุปาสกา ตถาคตสฺส สาวเกหิ ปเญฺห ปุจฺฉนฺติ
- ปาสาณมฺหา มิโค ปตติ, ลุทฺทโก หสติ, สุนขา ธาวนฺติ
- เวชฺชสฺส ปตฺโต ปุตฺตสฺส หตฺถมฺหา ปตติ
- กุมาโร มาตุลานํ ปุตฺตานํ หตฺเถน โอทนํ ททาติ
- สรา ลุทฺทกสฺส หตฺเถหิ ปตนฺติ, มิคา ปพฺพตํ ธาวนฺติ
- ภูปาลสฺส ปุตฺโต อมจฺเจหิ สทฺธึ ปาสาทสฺมา โอรุหติ
- เวชฺชสฺส โสโณ กสฺสกสฺส สูกรํ ฑสติ
- ธีวโร มนุสฺสานํ มจฺเฉ อาหรติ, ลาภํ ลภติ
สารบัญ
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]- บทนำ - การอ่านออกเสียง
- บทที่ 1 - การผันคำนามเพศชายที่ลงท้ายด้วยเสียง อะ ที่ทำหน้าที่เป็นผู้ทำ รูปเอกพจน์และพหูพจน์, การผันกริยากาลปัจจุบันสำหรับประธานบุรุษที่ 3 เอกพจน์และพหูพจน์
- บทที่ 2 - การผันคำนามเพศชายที่ลงท้ายด้วยเสียง อะ ที่ทำหน้าที่เป็นกรรมตรง รูปเอกพจน์และพหูพจน์
- บทที่ 3 - การผันคำนามเพศชายที่ลงท้ายด้วยเสียง อะ ที่ทำหน้าที่เป็นเครื่องทำ รูปเอกพจน์และพหูพจน์
- บทที่ 4 - การผันคำนามเพศชายที่ลงท้ายด้วยเสียง อะ ที่ทำหน้าที่เป็นต้นกำเนิด รูปเอกพจน์และพหูพจน์
- บทที่ 5 - การผันคำนามเพศชายที่ลงท้ายด้วยเสียง อะ ที่ทำหน้าที่เป็นกรรมรอง รูปเอกพจน์และพหูพจน์
- บทที่ 6 - การผันคำนามเพศชายที่ลงท้ายด้วยเสียง อะ ที่ทำหน้าที่เป็นเจ้าของ รูปเอกพจน์และพหูพจน์
- บทที่ 7 - การผันคำนามเพศชายที่ลงท้ายด้วยเสียง อะ ที่ทำหน้าที่เป็นสถานที่ รูปเอกพจน์และพหูพจน์
- บทที่ 8 - การผันคำนามเพศชายที่ลงท้ายด้วยเสียง อะ ที่ทำหน้าที่เป็นคำร้องเรียก รูปเอกพจน์และพหูพจน์, การผันคำนามเพศกลางที่ลงท้ายด้วยเสียง อะ
- บทที่ 9 - การสร้างคำนามจากกริยา
- บทที่ 10 - การผันคำกริยาเพื่อไม่ให้ระบุกาล
- บทที่ 11 - การผันคำกริยาเพื่อบอกเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้น ณ ปัจจุบัน, การผันคำนามเพศชายและเพศกลาง
- บทที่ 12 - การผันคำกริยาในกาลปัจจุบัน และบอกความเป็นผู้กระทำ
- บทที่ 13 - การผันคำกริยาในกาลปัจจุบัน และบอกความเป็นผู้กระทำ (ภาคต่อ)
- บทที่ 14 - การผันคำกริยาเพื่อบอกกาลอนาคต
- บทที่ 15 - การผันคำกริยาเพื่อบอกความเป็นไปได้และคำแนะนำ
- บทที่ 16 - การผันคำกริยาเพื่อบอกคำสั่ง
- บทที่ 17 - การผันคำกริยาเพื่อบอกกาลอดีต
- บทที่ 18 - การผันคำนามเพศหญิงที่ลงท้ายด้วยเสียง อา
- บทที่ 19 - การผันคำกริยาเพื่อบอกเหตุการณ์ที่เพิ่งเกิดขึ้น
- บทที่ 20 - การผันคำนามเพศหญิงที่ลงท้ายด้วยเสียง อิ และ อี
- บทที่ 21 - การผันคำกริยาเพื่อบอกเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้น ณ ปัจจุบัน (ภาคต่อ), การผันคำนามเพศหญิง
- บทที่ 22 - การผันคำกริยาเพื่อบอกความเป็นผู้ถูกกระทำในกาลอนาคต
- บทที่ 23 - การผันคำกริยาเพื่อบอกการไหว้วานหรือการบังคับ
- บทที่ 24 - การผันคำนามเพศหญิงที่ลงท้ายด้วยเสียง อุ
- บทที่ 25 - การผันคำนามเพศชายที่ลงท้ายด้วยเสียง อิ
- บทที่ 26 - การผันคำนามเพศชายที่ลงท้ายด้วยเสียง อี
- บทที่ 27 - การผันคำนามเพศชายที่ลงท้ายด้วยเสียง อุ และ อู
- บทที่ 28 - การผันคำนามของผู้กระทำกริยา และคำนามที่บ่งบอกความสัมพันธ์ทางเครือญาติ
- บทที่ 29 - การผันคำนามเพศกลางที่ลงท้ายด้วยเสียง อิ และ อุ
- บทที่ 30 - การผันคำคุณศัพท์ที่ลงท้ายด้วย -วนฺตุ และ -มนฺตุ
- บทที่ 31 - การผันคำสรรพนามบอกบุรุษ
- บทที่ 32 - การผันคำสรรพนามบอกบุรุษ สรรพนามบอกความสัมพันธ์ สรรพนามบอกระยะ และสรรพนามบอกคำถาม
- ภาคผนวก - รายการคำกริยาในภาษาบาลี, รายการคำที่นอกเหนือจากคำกริยาในภาษาบาลี