ภาษาบาลีสำหรับผู้เริ่มต้น/บทที่ 2
คำศัพท์
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]บทที่ 2 ศัพท์ใหม่แบ่งเป็นคำนาม 16 คำและคำกริยา 10 คำ
คำศัพท์ | ความหมาย | ||
---|---|---|---|
อักษรไทย | อักษรละติน | ||
คำนาม (เพศชาย ลงท้ายด้วยเสียง อะ) | |||
กุกฺกุร, สุนข, โสณ | kukkura, sunakha, soṇa | หมา, สุนัข | |
คาม | gāma | หมู่บ้าน | |
จนฺท | canda | ดวงจันทร์ | |
ธมฺม | dhamma | ธรรม (คำสอน), ความจริง | |
ปตฺต | patta | ถ้วย, ชาม, บาตร | |
ปพฺพต | pabbata | ภูเขา, บรรพต | |
ภตฺต | bhatta | ข้าว | |
ยาจก | yācaka | ขอทาน, ยาจก | |
รุกฺข | rukkha | ต้นไม้ | |
วิหาร | vihāra | วิหาร, โบสถ์ | |
สิคาล | sigāla | แจ็กคัล (หมาจิ้งจอกทอง) | |
สุริย | suriya | ดวงอาทิตย์, สุริยะ | |
อาวาฏ | āvāṭa | หลุม, บ่อ | |
โอทน | odana | ข้าวสวย | |
คำกริยา (ผันตามกาลปัจจุบัน บุรุษที่สาม เอกพจน์) | |||
ขณติ | khaṇati | ขุด | |
ปหรติ | paharati | ทุบ, ตี, ทำร้าย, โจมตี | |
ยาจติ | yācati | ขอ | |
รกฺขติ | rakkhati | ปกป้อง | |
วนฺทติ | vandati | บูชา, ไหว้, กราบ, ทำความเคารพ | |
วิชฺฌติ | vijjhati | ยิง | |
หรติ | harati | ถือ, นำไป, หยิบไป, พาไป | |
อารุหติ | āruhati | ขึ้น, ปีนขึ้น | |
อาหรติ | āharati | นำมา, พามา | |
โอรุหติ | oruhati | ลง |
การผันคำนามเพศชายที่ลงท้ายด้วยเสียง อะ ที่ทำหน้าที่เป็นกรรมตรง
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]คำนามที่ทำหน้าที่เป็นกรรมตรงหรือผู้ถูกทำหรือสิ่งถูกทำของประโยค เรียกว่า กรรมการก (accusative case) ในภาษาบาลีเรียกว่า ทุติยา หรือการผันคำนามลำดับที่สอง ประโยค ฉันกินข้าว คำว่าข้าวทำหน้าที่เป็นกรรมตรง ส่วนประโยค แม่ให้ขนมแก่น้อง คำว่าขนมทำหน้าที่เป็นกรรมตรง ส่วน "น้อง" ทำหน้าที่เป็นกรรมรอง ซึ่งจะมีในบทถัดไป
การผันคำนามเพศชายที่ลงท้ายด้วยเสียง อะ (-a) ทำหน้าที่เป็นกรรมตรง มีหลักการผันดังนี้
- รูปเอกพจน์ในการกนี้ให้เติมนิคหิต ◌ํ (-ṃ) ท้ายต้นเค้าคำนาม (ออกเสียงเป็น ◌ัง)
- รูปพหูพจน์ในการกนี้ให้เติม เ– (-e) ท้ายต้นเค้าคำนาม
เมื่อแปลจะมีความหมายว่า "ซึ่ง..." (หรือ "สู่...", "ยัง..." เมื่อแสดงจุดหมายปลายทาง) ซึ่งบางครั้งสามารถละไว้ไม่เขียนได้โดยที่ยังเข้าใจความหมายอยู่
ต้นเค้าคำนาม + รูปผัน | กรรมตรง เอกพจน์ | ||
---|---|---|---|
นร + ◌ํ (nara + -ṃ) |
→ | นรํ (naraṃ) |
ซึ่งคน, ซึ่งผู้ชาย |
มาตุล + ◌ํ (mātula + -ṃ) |
→ | มาตุลํ (mātulaṃ) |
ซึ่งลุง |
กสฺสก + ◌ํ (kassaka + -ṃ) |
→ | กสฺสกํ (kassakaṃ) |
ซึ่งชาวนา |
ต้นเค้าคำนาม + รูปผัน | กรรมตรง พหูพจน์ | ||
นร + เ- (nara + -e) |
→ | นเร (nare) |
ซึ่งคนทั้งหลาย, ซึ่งเหล่าผู้ชาย |
มาตุล + เ- (mātula + -e) |
→ | มาตุเล (mātule) |
ซึ่งลุงทั้งหลาย |
กสฺสก + เ- (kassaka + -e) |
→ | กสฺสเก (kassake) |
ซึ่งเหล่าชาวนา |
นอกจากนี้คำนามที่ทำหน้าที่ในประโยคเป็นจุดหมายปลายทางของการเดินทางหรือการเคลื่อนที่ ยังผันในรูปกรรมตรงอีกด้วย ส่วนใหญ่เป็นคำนามสถานที่ เช่น
คาม + ◌ํ | → | คามํ | สู่หมู่บ้าน, ยังหมู่บ้าน |
ปพฺพต + ◌ํ | → | ปพฺพตํ | สู่ภูเขา, ยังภูเขา |
คาม + เ- | → | คาเม | สู่หมู่บ้านทั้งหลาย |
ซึ่งคำนามดังกล่าวยังคงทำหน้าที่เป็นกรรมได้อยู่เอง การจะแปล "คามํ" ว่าสู่หมู่บ้าน หรือซึ่งหมู่บ้าน ขึ้นอยู่กับบริบทของประโยคนั้น ๆ
การสร้างประโยค
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]ประโยคที่จะมีคำนามรูปกรรมตรงได้นั้น คำกริยาหลักของประโยคต้องเป็นกริยาชนิดที่ต้องการกรรม หรือเป็นกริยาแสดงการเคลื่อนที่หรือการเดินทาง
โครงสร้างของประโยคที่มีกรรมตรง จะเรียงลำดับเป็น ผู้ทำ (ประธาน) + ผู้ถูกทำ (กรรมตรง) + กริยา. (เทียบเท่ากับ SOV - Subject Object Verb) จะเห็นว่าคำกริยาตกอยู่ท้ายประโยค และกรรมตรงอยู่หน้าคำกริยา
นโร ปุตฺตํ ปสฺสติ. อันว่าผู้ชาย เห็นอยู่ ซึ่งลูกชาย วาณิชา คามํ คจฺฉนฺติ. อันว่าเหล่าพ่อค้า กำลังไป สู่หมู่บ้าน ผู้ทำ
(nom)ผู้ถูกทำ
(acc)กริยา
ให้สังเกตว่าคำกริยาจะผันตามคำนามประธานเสมอ ไม่ว่าคำนามกรรมตรงจะเป็นเอกพจน์หรือพหูพจน์ก็ไม่มีผลต่อคำกริยานั้น
- นโร ปุตฺตํ ปสฺสติ. – ผู้ชายเห็นลูกชาย
- นโร ปุตฺเต ปสฺสติ. – ผู้ชายเห็นพวกลูกชาย
- นรา ปุตฺตํ ปสฺสนฺติ. – พวกผู้ชายเห็นลูกชาย
- นรา ปุตฺเต ปสฺสนฺติ. – พวกผู้ชายเห็นพวกลูกชาย
เนื่องจากกรรมการกในประโยคเป็นได้สองหน้าที่คือเป็นผู้ถูกกระทำโดยตรงและจุดหมายปลายทาง ทำให้เกิดประโยคที่ประกอบด้วยคำนามกรรมตรงสองคำได้ เช่น
- กสฺสกา คามํ ภตฺตํ หรนฺติ. – ชาวนาทั้งหลายนำข้าวไปยังหมู่บ้าน
แบบฝึกหัด
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]จงผันคำนาม
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]จงผันคำนามเพศชายที่ลงท้ายด้วยเสียง อะ ต่อไปนี้ ให้อยู่ในรูปกรรมตรง ทั้งเอกพจน์และพหูพจน์
- ปุริส
- พฺราหฺมณ
- พุทฺธ, ตถาคต, สุคต
- สหาย, สหายก, มิตฺต
- กุกฺกุร, สุนข, โสณ
- ธมฺม
- ปตฺต
- รุกฺข
- วิหาร
- จนฺท, สุริย
- อาวาฏ
- โอทน
ตัวอย่างเฉลย | ||
---|---|---|
ต้นเค้าคำนาม | รูปผันกรรมตรง | |
เอกพจน์ | พหูพจน์ | |
ช. –ะ | -ํ | เ– |
ปุริส | ปุริสํ | ปุริเส |
พฺราหฺมณ | พฺราหฺมณํ | พฺราหฺมเณ |
พุทฺธ, ตถาคต, สุคต | พุทฺธํ, ตถาคตํ, สุคตํ | พุทฺเธ, ตถาคเต, สุคเต |
สหาย, สหายก, มิตฺต | สหายํ, สหายกํ, มิตฺตํ | สหาเย, สหายเก, มิตฺเต |
กุกฺกุร, สุนข, โสณ (สุนัข) | กุกฺกุรํ, สุนขํ, โสณํ | กุกฺกุเร, สุนเข, โสเณ |
ธมฺม (ธรรม, คำสอน, ความจริง) | ธมฺมํ | ธมฺเม |
ปตฺต (ถ้วย, ชาม, บาตร) | ปตฺตํ | ปตฺเต |
รุกฺข (ต้นไม้) | รุกฺขํ | รุกฺเข |
วิหาร (วิหาร, โบสถ์) | วิหารํ | วิหาเร |
จนฺท; สุริย (ดวงจันทร์; ดวงอาทิตย์) | จนฺทํ; สุริยํ | จนเท; สุริเย |
อาวาฏ (หลุม, บ่อ) | อาวาฏํ | อาวาเฏ |
โอทน (ข้าวสวย) | โอทนํ | โอทเน |
จงแปลเป็นภาษาไทย
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]- ตถาคโต ธมฺมํ ภาสติ.
Tathāgato dhammaṃ bhāsati. - พฺราหฺมณา โอทนํ ภุญฺจนฺติ.
Brāhmaṇā odanaṃ bhuñjanti. - มนุสฺโส สุริยํ ปสฺสติ.
Manusso suriyaṃ passati. - กุมารา สิคาเล ปหรนฺติ.
Kumārā sigāle paharanti. - ยาจกา ภตฺตํ ยาจนฺติ.
Yācakā bhattaṃ yācanti. - กสฺสกา อาวาเฎ ขณนฺติ.
Kassakā āvāṭe khaṇanti. - มิตฺโต คามํ อาคจฺฉติ.
Mitto gāmaṃ āgacchati. - ภูปาโล มนุสฺเส รกฺขติ.
Bhūpālo manusse rakkhati. - ปุตฺตา ปพฺพตํ คจฺฉนฺติ.
Puttā pabbataṃ gacchanti. - กุมาโร พุทฺธํ วนฺทติ.
Kumāro Buddhaṃ vandati. - วาณิชา ปตฺเต อาหรนฺติ.
Vāṇijā patte āharanti. - ปุริโส วิหารํ คจฺฉติ.
Puriso vihāraṃ gacchati. - กุกฺกุรา ปพฺพตํ ธาวนฺติ.
Kukkurā pabbataṃ dhāvanti. - สิคาลา คามํ อาคจฺฉนฺติ.
Sigālā gāmaṃ āgacchanti. - พฺราหฺมณา สหายเก อาหรนฺติ.
Brāhmaṇā sahāyake āharanti. - ภูปาลา สุคตํ วนฺทนฺติ.
Bhūpālā sugataṃ vandanti. - ยาจกา สยนฺติ.
Yācakā sayanti. - มิตฺตา สุนเข หรนฺติ.
Mittā sunakhe haranti. - ปุตฺโต จนฺทํ ปสฺสติ.
Putto candaṃ passati. - กสฺสโก คามํ ธาวติ.
Kassako gāmaṃ dhāvati. - วาณิชา รุกฺเข ฉินฺทนฺติ.
Vāṇijā rukkhe chindanti. - นโร สิคาลํ วิชฺฌติ.
Naro sigālaṃ vijjhati. - กุมาโร โอทนํ ภุญชติ.
Kumāro odanaṃ bhuñjati. - ยาจโก โสณํ ปหรติ.
Yācako soṇaṃ paharati. - สหายกา ปพฺพเต อารุหนฺติ.
Sahāyakā pabbate āruhanti.
ตัวอย่างเฉลย |
---|
|
จงแปลเป็นภาษาบาลี
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]- พวกผู้ชายไปยังวิหาร
- พวกชาวนาปีนขึ้นภูเขาทั้งหลาย
- พราหมณ์รับประทานข้าว
- พระพุทธเจ้าทอดพระเนตรเห็นเหล่าเด็กชาย
- พวกลุงหยิบถ้วยทั้งหลายไป
- บุตรปกป้องสุนัข
- พระราชาทรงไหว้พระพุทธเจ้า
- พ่อค้าพาเด็กชายมา
- เหล่าเพื่อนๆ ไหว้พราหมณ์
- พวกขอทานขอข้าว
- เหล่าพ่อค้ายิงพวกหมาจิ้งจอกทอง
- พวกเด็กชายปีนภูเขา
- ชาวนาวิ่งไปยังหมู่บ้าน
- พ่อค้าหุงข้าว
- พวกบุตรไหว้ลุง
- เหล่าพระราชาปกป้องคนทั้งหลาย
- พระพุทธเจ้าเสด็จมายังวิหาร
- พวกผู้ชายลงมา
- พวกชาวนาขุดหลุมทั้งหลาย
- พ่อค้าวิ่ง
- สุนัขเห็นพระจันทร์
- พวกเด็กชายปีนต้นไม้ทั้งหลาย
- พราหมณ์นำถ้วยมา
- ขอทานหลับ
- พระราชาทอดพระเนตรเห็นพระพุทธเจ้า
ตัวอย่างเฉลย |
---|
|
สารบัญ
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]- บทนำ - การอ่านออกเสียง
- บทที่ 1 - การผันคำนามเพศชายที่ลงท้ายด้วยเสียง อะ ที่ทำหน้าที่เป็นผู้ทำ รูปเอกพจน์และพหูพจน์, การผันกริยากาลปัจจุบันสำหรับประธานบุรุษที่ 3 เอกพจน์และพหูพจน์
- บทที่ 2 - การผันคำนามเพศชายที่ลงท้ายด้วยเสียง อะ ที่ทำหน้าที่เป็นกรรมตรง รูปเอกพจน์และพหูพจน์
- บทที่ 3 - การผันคำนามเพศชายที่ลงท้ายด้วยเสียง อะ ที่ทำหน้าที่เป็นเครื่องทำ รูปเอกพจน์และพหูพจน์
- บทที่ 4 - การผันคำนามเพศชายที่ลงท้ายด้วยเสียง อะ ที่ทำหน้าที่เป็นต้นกำเนิด รูปเอกพจน์และพหูพจน์
- บทที่ 5 - การผันคำนามเพศชายที่ลงท้ายด้วยเสียง อะ ที่ทำหน้าที่เป็นกรรมรอง รูปเอกพจน์และพหูพจน์
- บทที่ 6 - การผันคำนามเพศชายที่ลงท้ายด้วยเสียง อะ ที่ทำหน้าที่เป็นเจ้าของ รูปเอกพจน์และพหูพจน์
- บทที่ 7 - การผันคำนามเพศชายที่ลงท้ายด้วยเสียง อะ ที่ทำหน้าที่เป็นสถานที่ รูปเอกพจน์และพหูพจน์
- บทที่ 8 - การผันคำนามเพศชายที่ลงท้ายด้วยเสียง อะ ที่ทำหน้าที่เป็นคำร้องเรียก รูปเอกพจน์และพหูพจน์, การผันคำนามเพศกลางที่ลงท้ายด้วยเสียง อะ
- บทที่ 9 - การสร้างคำนามจากกริยา
- บทที่ 10 - การผันคำกริยาเพื่อไม่ให้ระบุกาล
- บทที่ 11 - การผันคำกริยาเพื่อบอกเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้น ณ ปัจจุบัน, การผันคำนามเพศชายและเพศกลาง
- บทที่ 12 - การผันคำกริยาในกาลปัจจุบัน และบอกความเป็นผู้กระทำ
- บทที่ 13 - การผันคำกริยาในกาลปัจจุบัน และบอกความเป็นผู้กระทำ (ภาคต่อ)
- บทที่ 14 - การผันคำกริยาเพื่อบอกกาลอนาคต
- บทที่ 15 - การผันคำกริยาเพื่อบอกความเป็นไปได้และคำแนะนำ
- บทที่ 16 - การผันคำกริยาเพื่อบอกคำสั่ง
- บทที่ 17 - การผันคำกริยาเพื่อบอกกาลอดีต
- บทที่ 18 - การผันคำนามเพศหญิงที่ลงท้ายด้วยเสียง อา
- บทที่ 19 - การผันคำกริยาเพื่อบอกเหตุการณ์ที่เพิ่งเกิดขึ้น
- บทที่ 20 - การผันคำนามเพศหญิงที่ลงท้ายด้วยเสียง อิ และ อี
- บทที่ 21 - การผันคำกริยาเพื่อบอกเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้น ณ ปัจจุบัน (ภาคต่อ), การผันคำนามเพศหญิง
- บทที่ 22 - การผันคำกริยาเพื่อบอกความเป็นผู้ถูกกระทำในกาลอนาคต
- บทที่ 23 - การผันคำกริยาเพื่อบอกการไหว้วานหรือการบังคับ
- บทที่ 24 - การผันคำนามเพศหญิงที่ลงท้ายด้วยเสียง อุ
- บทที่ 25 - การผันคำนามเพศชายที่ลงท้ายด้วยเสียง อิ
- บทที่ 26 - การผันคำนามเพศชายที่ลงท้ายด้วยเสียง อี
- บทที่ 27 - การผันคำนามเพศชายที่ลงท้ายด้วยเสียง อุ และ อู
- บทที่ 28 - การผันคำนามของผู้กระทำกริยา และคำนามที่บ่งบอกความสัมพันธ์ทางเครือญาติ
- บทที่ 29 - การผันคำนามเพศกลางที่ลงท้ายด้วยเสียง อิ และ อุ
- บทที่ 30 - การผันคำคุณศัพท์ที่ลงท้ายด้วย -วนฺตุ และ -มนฺตุ
- บทที่ 31 - การผันคำสรรพนามบอกบุรุษ
- บทที่ 32 - การผันคำสรรพนามบอกบุรุษ สรรพนามบอกความสัมพันธ์ สรรพนามบอกระยะ และสรรพนามบอกคำถาม
- ภาคผนวก - รายการคำกริยาในภาษาบาลี, รายการคำที่นอกเหนือจากคำกริยาในภาษาบาลี