ข้ามไปเนื้อหา

ภาษาบาลีสำหรับผู้เริ่มต้น/บทที่ 7

จาก วิกิตำรา

บทที่ 7 ศัพท์ใหม่แบ่งเป็นคำนาม 15 คำและคำกริยา 12 คำ

คำศัพท์ ความหมาย
อักษรไทย อักษรละติน
คำนาม
(เพศชาย ลงท้ายด้วยเสียง อะ)
กาก kāka นกกา
กาย kāya ร่างกาย; ตัว
โคณ goṇa วัวตัวผู้
ทูต dūta คนนำข่าว, ทูต
เทว, สุร deva, sura เทพ, เทวดา
นาวิก nāvika นักเดินเรือ
นิวาส nivāsa บ้าน
โลก loka โลก
สกุณ sakuṇa นก
สปฺปุริส sappurisa คนดี
สมุทฺท samudda ทะเล; มหาสมุทร
อสปฺปุริส asappurisa คนชั่ว
อากาส ākāsa ท้องฟ้า
อาโลก āloka แสง
คำกริยา
(ผันตามกาลปัจจุบัน บุรุษที่สาม เอกพจน์)
จรติ carati เดิน
ชีวติ jīvati อยู่, มีชีวิต
ตรติ tarati ข้าม (น้ำ)
ติฏฺฐติ tiṭṭhati ยืน
นิสีทติ nisīdati นั่ง
ปสีทติ pasīdati ยินดี
วสติ vasati อยู่, มีชีวิต
วิหรติ viharati อยู่อาศัย
สนฺนิปตติ sannipatati ประชุม
อุปฺปตติ uppatati บิน; กระโดดขึ้น
อาหิณฺฑติ āhiṇḍati ท่องไป, เร่ร่อน
อุตฺตรติ uttarati ขึ้น (จากน้ำ)

การผันคำนามเพศชายที่ลงท้ายด้วยเสียง อะ ที่ทำหน้าที่เป็นสถานที่

[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

คำนามที่ทำหน้าที่เป็นสถานที่ของประโยค เรียกว่า สถานการก (locative case) ในภาษาบาลีเรียกว่า สัตตมี หรือการผันคำนามลำดับที่เจ็ด

การผันคำนามเพศชายที่ลงท้ายด้วยเสียง อะ (-a) ทำหน้าที่เป็นกรรมตรง มีหลักการผันดังนี้

  1. รูปเอกพจน์ในการกนี้ให้เติม เ– หรือ –มฺหิ หรือ –สฺมิํ (-e, -mhi, -smiṃ) ท้ายต้นเค้าคำนาม
  2. รูปพหูพจน์ในการกนี้ให้เติม เ–สุ (-esu) ท้ายต้นเค้าคำนาม

เมื่อแปลจะมีความหมายว่า "ใน, ใกล้, ที่, ณ, บน" (หรือ "ครั้นเมื่อ" ซึ่งใช้เฉพาะลักขณะ หรือ "ในเพราะ")

ต้นเค้าคำนาม สถานที่ เอกพจน์ คำแปล
นร
(nara)
นเร, นรมฺหิ, นรสฺมิํ
(nare, naramhi, narasmiṃ)
ที่คน, ใกล้คน, ที่ชาย, ฯลฯ
มาตุล
(mātula)
มาตุเล, มาตุลมฺหิ, มาตุลสฺมิํ
(mātule, mātulamhi, mātulasmiṃ)
ที่ลุง, ณ ลุง, ใกล้ลุง, ฯลฯ
กสฺสก
(kassaka)
กสฺสเก, กสฺสกมฺหิ, กสฺสกสฺมิํ
(kassake, kassakamhi, kassakasmiṃ)
ที่ชาวนา, ใกล้ชาวนา, ฯลฯ
ต้นเค้าคำนาม สถานที่ พหูพจน์ คำแปล
นร
(nara)
นเรสุ
(naresu)
ที่พวกคน, ใกล้เหล่าคน, ที่พวกชาย, ฯลฯ
มาตุล
(mātula)
มาตุเลสุ
(mātulesu)
ที่พวกลุง, ใกล้พวกลุง, ฯลฯ
กสฺสก
(kassaka)
กสฺสเกสุ
(kassakesu)
ที่พวกชาวนา, ใกล้พวกชาวนา, ฯลฯ

ตัวอย่างประโยค

[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]
เอกพจน์
  1. สปฺโป นรสฺมิํ ปตติ. – งูตกลงบนคน, งูตกลงที่ชาย
  2. ปุตฺโต มาตุลมฺหิ ปสีทติ. – บุตรยินดีกับลุง
  3. วาณิโช กสฺสกสฺมิํ ปสีทติ. – พ่อค้ายินดีกับชาวนา
พหูพจน์
  1. สปฺปา นเรสุ ปตนฺติ. – เหล่างูตกลงบนคนทั้งหลาย, พวกงูตกลงที่พวกผู้ชาย
  2. ปุตฺตา มาตุเลสุ ปสีทนฺติ. – บุตรทั้งหลายยินดีกับพวกลุง
  3. วาณิชา กสฺสเกสุ ปสีทนฺติ. – พวกพ่อค้ายินดีกับชาวนาทั้งหลาย


สังเกตว่าคำกริยา "ปสีทติ" (ยินดีกับ) คำนามแสดงผู้รับยินดีจะผันตามสถานการก

จงแปลเป็นภาษาไทย

[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

จงแปลเป็นภาษาบาลี

[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]
  1. สิงโตยืนบนก้อนหินบนภูเขา
  2. เหล่าโจรเข้าบ้านของครู
  3. พวกเด็กวิ่งจากถนนไปยังทะเลกับพวกเพื่อน
  4. เหล่าวัวของลุงท่องไปบนถนน
  5. หมู่นกเกาะ (ยืน) บนต้นไม้
  6. วัวเตะแพะด้วยเท้าของมัน
  7. หมู่หมาไนอาศัยอยู่บนภูเขา
  8. กษัตริย์ทรงกราบพระบาทพระพุทธเจ้าพร้อมด้วยข้าราชบริพารทั้งหลาย
  9. ลุงนอนหลับบนเตียงกับบุตรของเขา
  10. ชาวประมงกินข้าวในบ้านของชาวนา
  11. ม้าทั้งหลายของกษัตริย์อาศัยอยู่ในเกาะ
  12. สัปปุริสนำประทีปไปให้ฤๅษี
  13. แพทย์นำเสื้อตัวหนึ่งไปยังบ้านของครู
  14. ลิงเล่นกับหมาอยู่บนก้อนหิน
  15. เสื้อผ้าตกลงบนตัวชาวนา
บทนำ - การอ่านออกเสียง
บทที่ 1 - การผันคำนามเพศชายที่ลงท้ายด้วยเสียง อะ ที่ทำหน้าที่เป็นผู้ทำ รูปเอกพจน์และพหูพจน์, การผันกริยากาลปัจจุบันสำหรับประธานบุรุษที่ 3 เอกพจน์และพหูพจน์
บทที่ 2 - การผันคำนามเพศชายที่ลงท้ายด้วยเสียง อะ ที่ทำหน้าที่เป็นกรรมตรง รูปเอกพจน์และพหูพจน์
บทที่ 3 - การผันคำนามเพศชายที่ลงท้ายด้วยเสียง อะ ที่ทำหน้าที่เป็นเครื่องทำ รูปเอกพจน์และพหูพจน์
บทที่ 4 - การผันคำนามเพศชายที่ลงท้ายด้วยเสียง อะ ที่ทำหน้าที่เป็นต้นกำเนิด รูปเอกพจน์และพหูพจน์
บทที่ 5 - การผันคำนามเพศชายที่ลงท้ายด้วยเสียง อะ ที่ทำหน้าที่เป็นกรรมรอง รูปเอกพจน์และพหูพจน์
บทที่ 6 - การผันคำนามเพศชายที่ลงท้ายด้วยเสียง อะ ที่ทำหน้าที่เป็นเจ้าของ รูปเอกพจน์และพหูพจน์
บทที่ 7 - การผันคำนามเพศชายที่ลงท้ายด้วยเสียง อะ ที่ทำหน้าที่เป็นสถานที่ รูปเอกพจน์และพหูพจน์
บทที่ 8 - การผันคำนามเพศชายที่ลงท้ายด้วยเสียง อะ ที่ทำหน้าที่เป็นคำร้องเรียก รูปเอกพจน์และพหูพจน์, การผันคำนามเพศกลางที่ลงท้ายด้วยเสียง อะ
บทที่ 9 - การสร้างคำนามจากกริยา
บทที่ 10 - การผันคำกริยาเพื่อไม่ให้ระบุกาล
บทที่ 11 - การผันคำกริยาเพื่อบอกเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้น ณ ปัจจุบัน, การผันคำนามเพศชายและเพศกลาง
บทที่ 12 - การผันคำกริยาในกาลปัจจุบัน และบอกความเป็นผู้กระทำ
บทที่ 13 - การผันคำกริยาในกาลปัจจุบัน และบอกความเป็นผู้กระทำ (ภาคต่อ)
บทที่ 14 - การผันคำกริยาเพื่อบอกกาลอนาคต
บทที่ 15 - การผันคำกริยาเพื่อบอกความเป็นไปได้และคำแนะนำ
บทที่ 16 - การผันคำกริยาเพื่อบอกคำสั่ง
บทที่ 17 - การผันคำกริยาเพื่อบอกกาลอดีต
บทที่ 18 - การผันคำนามเพศหญิงที่ลงท้ายด้วยเสียง อา
บทที่ 19 - การผันคำกริยาเพื่อบอกเหตุการณ์ที่เพิ่งเกิดขึ้น
บทที่ 20 - การผันคำนามเพศหญิงที่ลงท้ายด้วยเสียง อิ และ อี
บทที่ 21 - การผันคำกริยาเพื่อบอกเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้น ณ ปัจจุบัน (ภาคต่อ), การผันคำนามเพศหญิง
บทที่ 22 - การผันคำกริยาเพื่อบอกความเป็นผู้ถูกกระทำในกาลอนาคต
บทที่ 23 - การผันคำกริยาเพื่อบอกการไหว้วานหรือการบังคับ
บทที่ 24 - การผันคำนามเพศหญิงที่ลงท้ายด้วยเสียง อุ
บทที่ 25 - การผันคำนามเพศชายที่ลงท้ายด้วยเสียง อิ
บทที่ 26 - การผันคำนามเพศชายที่ลงท้ายด้วยเสียง อี
บทที่ 27 - การผันคำนามเพศชายที่ลงท้ายด้วยเสียง อุ และ อู
บทที่ 28 - การผันคำนามของผู้กระทำกริยา และคำนามที่บ่งบอกความสัมพันธ์ทางเครือญาติ
บทที่ 29 - การผันคำนามเพศกลางที่ลงท้ายด้วยเสียง อิ และ อุ
บทที่ 30 - การผันคำคุณศัพท์ที่ลงท้ายด้วย -วนฺตุ และ -มนฺตุ
บทที่ 31 - การผันคำสรรพนามบอกบุรุษ
บทที่ 32 - การผันคำสรรพนามบอกบุรุษ สรรพนามบอกความสัมพันธ์ สรรพนามบอกระยะ และสรรพนามบอกคำถาม
ภาคผนวก - รายการคำกริยาในภาษาบาลี, รายการคำที่นอกเหนือจากคำกริยาในภาษาบาลี