วิกิตำรา:ชั้นหนังสือ/กฎหมาย
กฎหมาย | การพยากรณ์ | กีฬา | เกม | คณิตศาสตร์ | คอมพิวเตอร์ | ตำราอาหาร | เทคโนโลยีสารสนเทศ | แนะนำการศึกษา | เบ็ดเตล็ด | แพทยศาสตร์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ | ภาษา | มนุษยศาสตร์ | วรรณคดี | วิทยาศาสตร์ | วิทยาการคอมพิวเตอร์ | วิศวกรรมศาสตร์ | ศาสนาและปรัชญา | ศิลปะ | สัตววิทยาและสัตวแพทยศาสตร์ | สูตรสำเร็จ
ตำรากฎหมาย เป็นตำราที่ใช้ในการศึกษากฎหมาย ถึงแม้ว่าโครงการวิกิตำราจะมิได้ขึ้นอยู่กับท้องถิ่นใดท้องถิ่นหนึ่ง แต่ตำรากฎหมายในชั้นหนังสือนี้ตั้งอยู่บนระบบการศึกษากฎหมายในสถาบันอุดมศึกษาไทยเป็นหลัก
การศึกษาชั้นที่หนึ่ง
[แก้ไขต้นฉบับ]การศึกษาชั้นที่หนึ่ง หรือเรียกกันตามหลักสูตรของสถาบันอุดมศึกษาไทยทั่วไปว่า "ชั้นปริญญาตรี" (bachelor's degree) ตามปรกติใช้เวลาศึกษาสี่ปี วิชาที่เล่าเรียนแบ่งออกเป็นสองประเภท คือ วิชาหลัก และวิชาเลือก
วิชาหลัก
[แก้ไขต้นฉบับ]ในการศึกษาชั้นที่หนึ่ง ผู้ศึกษาต้องเรียนและผ่านวิชาหลัก หรือที่เรียกกันว่า "วิชาบังคับ" (compulsory subject) ทุกวิชา จึงจะสำเร็จหลักสูตร วิชาหลักนั้นต้องร่ำเรียนกันดังต่อไปนี้ตามลำดับ
# | ตำรา | เนื้อหา | ปีที่ศึกษา | ||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
พื้นฐาน | |||||||||||||||||||||||||||||
1 | ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับกฎหมายและระบบกฎหมาย Introduction to Law and Legal System บางสำนักเรียก "กฎหมายแพ่ง: หลักทั่วไป" Introduction to Civil Law |
ความหมาย บ่อเกิด วิวัฒนาการ ประเภท วิธีใช้ และทัศนคติเกี่ยวกับกฎหมาย | 1
| ||||||||||||||||||||||||||
2 | นิติปรัชญา Philosophy of Law |
แนวคิดทางกฎหมาย ตลอดจนวิวัฒนาการและปัญหาพื้นฐานของแนวคิดเหล่านั้น | 4
| ||||||||||||||||||||||||||
3 | หลักวิชาชีพนักกฎหมาย Legal Profession |
วิวัฒนาการของวิชาชีพนักกฎหมาย หน้าที่ ภารกิจ คุณธรรม วินัย และอุดมคติของนักกฎหมาย องค์กรทางวิชาชีพนักกฎหมาย และปัญหาทางจริยธรรมของนักกฎหมายในปัจจุบัน | |||||||||||||||||||||||||||
4 | ประวัติศาสตร์กฎหมายไทย Thai Legal History |
รากฐานและวิวัฒนาการของระบบกฎหมายไทย | |||||||||||||||||||||||||||
กฎหมายแพ่ง | |||||||||||||||||||||||||||||
1 | กฎหมายบุคคล Law of Persons |
การเกิด ความเป็นไป และการตายของบุคคลในทางกฎหมาย ทั้งบุคคลธรรมดา (natural person) และนิติบุคคล (legal person) | 1
| ||||||||||||||||||||||||||
2 | กฎหมายหนี้: หลักทั่วไป Introduction to Obligations |
หลักทั่วไปว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในทางแพ่ง | 2
| ||||||||||||||||||||||||||
3 | กฎหมายนิติกรรมและสัญญา Legal Transactions and Contracts |
ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในทางแพ่งซึ่งเป็นไปโดยความสมัครใจของบุคคลเหล่านั้น | 1
| ||||||||||||||||||||||||||
4 | เอกเทศสัญญา Specific Contracts |
บรรดาสัญญาซึ่งกฎหมายกำหนดชื่อและกฎเกณฑ์ไว้เป็นพิเศษตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ | 2
| ||||||||||||||||||||||||||
5 | กฎหมายละเมิด จัดการงานนอกสั่ง และลาภมิควรได้ Torts, Agency without Specific Authorisation and Unjust Enrichment |
ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในทางแพ่งซึ่งเป็นไปโดยที่บุคคลมิได้สมัครใจ แบ่งเป็น
| |||||||||||||||||||||||||||
6 | กฎหมายทรัพย์สิน Property Law |
กฎหมายว่าด้วยทรัพย์สินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ | |||||||||||||||||||||||||||
7 | กฎหมายครอบครัว Family Law |
แนวคิดเกี่ยวกับครอบครัว กฎหมายครอบครัวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง | 3
| ||||||||||||||||||||||||||
8 | กฎหมายมรดก Law of Succession |
กฎหมายว่าด้วยมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ | |||||||||||||||||||||||||||
กฎหมายอาญา | |||||||||||||||||||||||||||||
1 | กฎหมายอาญา: ภาคทั่วไป Introduction to Criminal Law |
หลักทั่วไปในกฎหมายอาญา | 2
| ||||||||||||||||||||||||||
2 | กฎหมายอาญา: ภาคความผิด Criminal Law: Offences |
หลักกฎหมายอาญาว่าด้วยความผิดตามที่ประมวลกฎหมายอาญาไทยและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง | |||||||||||||||||||||||||||
กฎหมายมหาชน | |||||||||||||||||||||||||||||
1 | กฎหมายมหาชนเบื้องต้น Introduction to Public Law |
แนวคิด ทฤษฎี และวิวัฒนาการของกฎหมายมหาชน บ่อเกิดกฎหมายมหาชน องค์กรทางมหาชน นิติบุคคลมหาชน | 2
| ||||||||||||||||||||||||||
2 | กฎหมายรัฐธรรมนูญ Constitutional Law |
แนวคิด ทฤษฎี และวิวัฒนาการเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ ตลอดจนสิทธิและเสรีภาพของบุคคล | |||||||||||||||||||||||||||
3 | กฎหมายปกครอง 1 Administrative Law 1 |
แนวคิด ทฤษฎี และวิวัฒนาของการปกครองแผ่นดินและกฎหมายว่าด้วยการปกครองแผ่นดิน บ่อเกิดกฎหมายว่าด้วยการปกครองแผ่นดิน การจัดองค์กรของฝ่ายปกครอง และวิธีปกครองแผ่นดิน | |||||||||||||||||||||||||||
4 | กฎหมายปกครอง 2 Administrative Law 2 |
การควบคุมฝ่ายปกครอง | |||||||||||||||||||||||||||
5 | กฎหมายการคลังและการภาษีอากร Law of Public Finance and Taxation |
กฎหมายเกี่ยวกับการเงิน การคลัง การงบประมาณ ระบบภาษีอากร และสถาบันการเงิน เพื่อประโยชน์ในการปกครองแผ่นดิน | 4
| ||||||||||||||||||||||||||
กฎหมายวิธีพิจารณาความ | |||||||||||||||||||||||||||||
1 | ระบบศาลและหลักทั่วไปว่าด้วยวิธีพิจารณาคดี Judicial System and General Principles of Procedural Law |
รูปแบบของศาล การจัดองค์กรของศาล อำนาจศาล อำนาจตุลาการ และหลักทั่วไปว่าด้วยวิธีดำเนินกิจการในทางพิจารณาคดีของศาล | 2
| ||||||||||||||||||||||||||
2 | กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง Law of Civil Procedure |
วิธีดำเนินคดีแพ่งโดยทั่วไป รวมถึงการบังคับคดีแพ่ง | 3
| ||||||||||||||||||||||||||
3 | กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา Law of Criminal Procedure |
วิธีดำเนินคดีอาญาโดยทั่วไป | |||||||||||||||||||||||||||
4 | กฎหมายพยานหลักฐาน Law of Evidence |
กฎหมายว่าด้วยพยานหลักฐาน ทั้งที่เป็นหลักทั่วไป และที่เป็นบทบัญญัติ | |||||||||||||||||||||||||||
กฎหมายระหว่างประเทศ | |||||||||||||||||||||||||||||
1 | กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง Public International Law |
|
4
| ||||||||||||||||||||||||||
2 | กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล Private International Law |
|
วิชาเลือก
[แก้ไขต้นฉบับ]ในระหว่างศึกษาวิชาหลักนั้น ผู้ศึกษาสามารถเลือกเรียนบางวิชาจากรายการที่จัดไว้ให้แล้วแต่ความสนใจของตน วิชาประเภทนี้เรียก วิชาเลือก หรือเรียกกันตามหลักสูตรของสถาบันอุดมศึกษาไทยว่า "วิชาเลือกเสรี" (elective subject)
กระนั้น แม้จะมีชื่อว่า "เลือกเสรี" แต่โดยทั่วไป ผู้ศึกษาจำต้องเลือกเรียนและผ่านจนได้หน่วยกิตเป็นจำนวนที่กำหนดไว้ จึงจะสำเร็จหลักสูตร วิชาเลือกมีดังต่อไปนี้
# | ตำรา | เนื้อหา | หมายเหตุ | ||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
กฎหมายแพ่ง | |||||||||||||||||||||||||||||
1 | ทรัพย์สินทางปัญญา Intellectual Property |
หลักกฎหมายลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร เครื่องหมายทางการค้า และชื่อทางการค้า | |||||||||||||||||||||||||||
กฎหมายมหาชน | |||||||||||||||||||||||||||||
1 | สิทธิขั้นพื้นฐาน Fundamental Rights |
ความหมาย ความสำคัญ ความเป็นมา และการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน ตลอดจนสิทธิขั้นพื้นฐานตามรัฐธรรมนูญไทย | |||||||||||||||||||||||||||
2 | กฎหมายว่าด้วยสวัสดิการสังคม Law on Social Welfare |
ความเป็นมา แนวคิด หลักการ หลักเกณฑ์ และนโยบายของรัฐเกี่ยวกับการจัดสวัสดิการสังคม เช่น ลูกจ้าง ครอบครัว สตรี เยาวชน คนชรา คนพิการ ฯลฯ รวมถึงข้อบกพร่อง ปัญหา และวิธีแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการดังกล่าว | |||||||||||||||||||||||||||
3 | กฎหมายเกี่ยวกับการผังเมืองและการควบคุมอาคาร Law Relating to City Planning and Construction Control |
ความเป็นมา หลักกฎหมาย วิธีบังคับตามกฎหมาย มาตรการเกี่ยวกับการพัฒนาเมืองอันยังให้เกิดความจำเป็นต้องมีการวางผังเมืองและควบคุมอาคาร | |||||||||||||||||||||||||||
4 | กฎหมายว่าด้วยการปกครองส่วนท้องถิ่น Law on Local Government |
แนวความคิดเกี่ยวกับการจัดการปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไทยในปัจจุบัน รวมถึงอำนาจหน้าหน้าที่และการคลังขององค์กรเหล่านี้ กับทั้งการควบคุมจากส่วนกลาง |
| ||||||||||||||||||||||||||
5 | ศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครองเปรียบเทียบ Comparative Law on Administrative Courts |
ความหมาย ประวัติศาสตร์ ความคิด ความสำคัญ ภารกิจ โครงสร้าง อำนาจหน้าที่ วิธีพิจารณา ผลการพิจารณา และการบังคับตามผลการพิจารณาของศาลปกครองทั้งของไทยและต่างประเทศ |
| ||||||||||||||||||||||||||
6 | ศาลรัฐธรรมนูญและวิธีพิจารณาคดีรัฐธรรมนูญ Constitutional Court and Procedure |
ประวัติศาสตร์และความคิดเกี่ยวกับศาลรัฐธรรมนูญ ตลอดจนภารกิจ โครงสร้าง อำนาจหน้าที่ วิธีพิจารณา ผลการพิจารณา และการบังคับตามผลการพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญไทย |
| ||||||||||||||||||||||||||
7 | กฎหมายรัฐธรรมนูญเปรียบเทียบ Comparative Constitutional Law |
หลักกฎหมายรัฐธรรมนูญไทย เปรียบเทียบกับของต่างประเทศในประเด็นสำคัญ | |||||||||||||||||||||||||||
8 | กฎหมายว่าด้วยการควบคุมการใช้อำนาจรัฐ Law on Control of Exercise of State Power |
การควบคุมการใช้อำนาจรัฐ โดยสถาบันซึ่งมิใช่ศาล (เช่น ผู้ตรวจการแผ่นดิน คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ฯลฯ) และโดยประชาชน |
| ||||||||||||||||||||||||||
9 | กฎหมายว่าด้วยเจ้าหน้าที่ของรัฐ Law on Public Authorities |
ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับเจ้าหน้าที่ของรัฐประเภทต่าง ๆ เช่น ราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน ฯลฯ เป็นต้นว่า การได้มาซึ่งเจ้าหน้าที่ของรัฐ สิทธิและหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ของรัฐ กับทั้งวินัย การลงโทษ และการเรียกค่าเสียหายจากเจ้าหน้าที่ของรัฐ | |||||||||||||||||||||||||||
10 | กฎหมายมหาชนทางเศรษฐกิจเบื้องต้น Introduction to Public Economic Laws |
ความเป็นมา หลักเกณฑ์ และมาตรการของการที่รัฐเข้าควบคุมและดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ รวมถึงข้อบกพร่อง ปัญหา และวิธีแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการดังกล่าว | |||||||||||||||||||||||||||
11 | กฎหมายพรรคการเมืองและการเลือกตั้ง Political Party and Electoral Law |
ความเป็นมา วิวัฒนาการ โครงสร้าง และสภาพในปัจจุบันของพรรคการเมือง ระบบการเลือกตั้ง องค์กรที่จัดการเลือกตั้ง และกฎหมายการเลือกตั้ง ทั้งของประเทศไทยและต่างประเทศ รวมตลอดถึงข้อบกพร่อง ปัญหา และวิธีแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการเลือกตั้ง | |||||||||||||||||||||||||||
12 | ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายมหาชนเยอรมัน Introduction to German Public Law |
ความเป็นมาและวิวัฒนาการของกฎหมายมหาชนเยอรมัน สถาบันทางการเมืองเยอรมัน หลักและทฤษฎีทางกฎหมายมหาชนเยอรมัน เช่น หลักเกี่ยวกับศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ ความเสมอภาค นิติรัฐ ประชาธิปไตย สหพันธรัฐ ความเป็นธรรมทางสังคม ฯลฯ ตลอดจนวิธีที่ประเทศเยอรมนีบังคับหลักการเหล่านี้ให้เกิดผล | |||||||||||||||||||||||||||
ระบบกฎหมาย | |||||||||||||||||||||||||||||
1 | ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับระบบกฎหมายอังกฤษและอเมริกัน Introduction to Anglo-American Law |
ความเป็นมา ลักษณะ นิติวิธี และประเพณีการใช้นิติวิธีของระบบกฎหมายอังกฤษและอเมริกัน (ระบบคอมมอนลอว์) | |||||||||||||||||||||||||||
2 | ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับระบบกฎหมายฝรั่งเศส Introduction to French Legal System |
ความเป็นมา ลักษณะ สถาบันที่สำคัญ หลักกฎหมายที่สำคัญ ตลอดจนพัฒนาการใหม่ ๆ เกี่ยวกับระบบกฎหมายนี้ | |||||||||||||||||||||||||||
3 | ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับระบบกฎหมายเยอรมัน Introduction to German Legal System | ||||||||||||||||||||||||||||
4 | ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับระบบกฎหมายญี่ปุ่น Introduction to Japanese Legal System | ||||||||||||||||||||||||||||
5 | ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับระบบกฎหมายไทย Introduction to Thai Legal System | ||||||||||||||||||||||||||||
6 | กฎหมายโรมันเบื้องต้น Introduction to Roman Law |
ประวัติศาสตร์และลักษณะของระบบกฎหมายโรมันซึ่งเป็นรากเหง้าของระบบซีวิลลอว์ | |||||||||||||||||||||||||||
7 | ระบบซีวิลลอว์ Civil Law System |
ความเป็นมาและวิวัฒนาการของระบบซีวิลลอว์ รวมถึงความคิดพื้นฐาน ทัศนคติ บ่อเกิดของกฎหมาย นิติวิธี และหลักกฎหมายที่สำคัญในระบบซีวิลลอว์ | |||||||||||||||||||||||||||
8 | กฎหมายอิสลาม Islamic Law |
ประวัติศาสตร์ ลักษณะ บ่อเกิด ระบบศาล และหลักของกฎหมายอิสลาม | |||||||||||||||||||||||||||
กฎหมายระหว่างประเทศ | |||||||||||||||||||||||||||||
1 | สิทธิมนุษยชน Human Rights |
ความหมาย ความเป็นมา วิวัฒนาการ ทฤษฎี แนวคิด และปรัญชาเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน ตลอดจนสภาพบังคับของสิทธิมนุษยชน กับวิธีส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน |
| ||||||||||||||||||||||||||
2 | กฎหมายองค์การระหว่างประเทศ Law of International Organisations |
ความหมาย การก่อตั้ง สภาพบุคคล และสมาชิกภาพขององค์การระหว่างประเทศ ผลทางกฎหมายของข้อมติแห่งองค์การระหว่างประเทศ เอกสิทธิ์และความคุ้มกันสำหรับองค์การระหว่างประเทศ ตลอดจนปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับองค์การระหว่างประเทศ |
| ||||||||||||||||||||||||||
3 | กฎหมายทะเล Law of the Sea |
ความเป็นมาและบ่อเกิดของกฎหมายทะเล สถานะทางกฎหมายของพื้นน้ำในความควบคุมของรัฐ (เช่น น่านน้ำภายในทะเลอาณาเขต เขตเศรษฐกิจจำเพาะ ไหล่ทวีป หมู่เกาะ ช่องแคบ อ่าว ฯลฯ) และพื้นน้ำที่ไม่อยู่ในความควบคุมของรัฐใด ๆ (เช่น ทะเลหลวง เขตก้นทะเลลึก ฯลฯ) รวมถึงการกำหนดเขตทะเล ข้อพิพาททางกฎหมายทะเล และการระงับข้อพิพาทเหล่านั้น | |||||||||||||||||||||||||||
4 | กฎหมายอาญาระหว่างประเทศ International Criminal Law บางสำนักเรียก "กฎหมายอาชญากรรมระหว่างประเทศ" |
หลักและทฤษฎีของกฎหมายอาญาระหว่างประเทศ ความผิดอาญาระหว่างประเทศที่ตราเป็นกฎหมายแล้ว กับทั้งการดำเนินคดีอาญาระหว่างประเทศ | |||||||||||||||||||||||||||
5 | ความร่วมมือระหว่างประเทศในทางอาญา International Cooperation in Criminal Matters |
กฎหมายระหว่างประเทศว่าด้วยการส่งผู้ร้ายข้ามแดน หลักเกณฑ์ว่าด้วยการส่งผู้ร้ายข้ามแดนตามกฎหมายไทย ตลอดจนความร่วมมือระหว่างประเทศในการดำเนินคดีอาญาและการกำหนดความผิดอาญาสากล | |||||||||||||||||||||||||||
6 | กฎหมายสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศ International Environmental Law |
กฎหมายระหว่างประเทศว่าด้วยสิ่งแวดล้อม เช่น มลพิษข้ามแดน การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลก ความหลากหลายทางชีวภาพ การคุ้มครองพันธุ์พืชและสัตว์ กับทั้งบทบาทขององค์การระหว่างประเทศด้านสิ่งแวดล้อม |
การศึกษาชั้นที่สอง
[แก้ไขต้นฉบับ]การศึกษาชั้นที่สอง หรือเรียกกันตามหลักสูตรสถาบันอุดมศึกษาทั่วไปว่าว่า "ชั้นปริญญาโท" (master's degree) ตามปรกติใช้เวลาศึกษาสองปี ผู้ศึกษาชั้นที่สองย่อมมีพื้นฐานมาจากชั้นที่หนึ่งแล้ว การศึกษาในชั้นที่สองนี้จึงมีความเข้มข้นและเฉพาะเจาะจงยิ่งขึ้น วิชาในชั้นที่สองมีดังต่อไปนี้
# | ตำรา | เนื้อหา | |||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
กฎหมายระหว่างประเทศ | |||||||||||||||||||||||||||||
1 | กฎหมายการค้าระหว่างประเทศ International Trade Law |
|