โอเพนออฟฟิศดอตอ็อก/การย้ายและคัดลอกสูตรคำนวณ

จาก วิกิตำรา

เราสามารถย้ายหรือคัดลอกสูตรที่ป้อนในตารางได้ โดยใช้วิธีเดียวกับการย้ายหรือคัดลอกข้อมูลธรรมดาแต่เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ถูกต้องจากการคำนวณ เราต้องทำความเข้าใจ Relative Addressing และ Absolute Addressing ก่อน

การคัดลอกแบบสัมพันธ์กับตำแหน่ง (Relative Addressing)[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

สำหรับสูตรที่มีเฉพาะตัวเลขเท่านั้น เช่น =12+5*2 การคัดลอกหรือเคลื่อนย้ายสูตรจากเซลล์หนึ่งไปยังอีกเซลล์หนึ่ง จะไม่ทำให้ผลลัพธ์ที่ได้จากการคำนวณเปลี่ยนแปลงไปแต่อย่างใด เพราะไม่ว่าสูตรจะอยู่ที่เซลล์ใด ผลลัพธ์ที่ได้ก็ยังเท่ากับ =12+5*2 = 34 เสมอ แต่สำหรับสูตรที่ใช้ตำแหน่งอ้างอิงของเซลล์ เช่น =A4*A3 เมื่อมีการคัดลอกหรือเคลื่อนย้ายสูตรไปยังเซลล์อื่น ผลลัพธ์ที่ได้จากการคำนวณจะเปลี่ยนไป เพราะ Calc จะเปลี่ยนตำแหน่งอ้างอิงของเซลล์ในสูตรเป็นสัดส่วนตามระยะทางที่เซลล์ถูกย้ายหรือคัดลอก

เช่น ตัวอย่างดังรูป เมื่อสูตร =C5*D5 ในเซลล์ E5 ถูกคัดลอกไปที่ตำแหน่ง E6 สูตรที่แสดงในเซลล์ E6 จะเปลี่ยนเป็น =C6*D6 โดยการเปลี่ยนแปลงนี้จะสัมพันธ์กับระยะทางที่เซลล์ E5 ถูกคัดลอกลงล่าง 1 เซลล์ (จากสูตร =C5*D5 เลยได้ =C6*D6)

ลักษณะการอ้างอิงตำแหน่งของเซลล์ที่ใช้ในสูตรที่เปลี่ยนได้ดังนี้ เรียกว่า Relative Addressing วิธีคัดลอกสูตรแบบนี้เหมาะสำหรับการคำนวณในตารางที่มีรูปแบบที่ซ้ำๆ กันโดยที่เราสามารถป้อนสูตรคำนวณเพียงครั้งเดียวและคัดลอกสูตรนั้นไปใช้กับเซลล์อื่น โดยสูตรจะ เปลี่ยนเซลล์ที่อ้างอิงเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ถูกต้องดังตัวอย่างในรูป

การคัดลอกแบบยึดตำแหน่งเดิม (Absolute Addressing)[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

เมื่อเราต้องการคัดลอกสูตรในตาราง จะพบว่าวิธี Relative Addressing ไม่สามารถใช้ได้ทุกกรณี เพราะเราอาจจะไม่ต้องการให้ตำแหน่งอ้างอิงของเซลล์เปลี่ยนดังตัวอย่างในรูป

เนื่องจากเซลล์ D10 เป็นเซลล์เดียวที่เก็บค่าแลกเปลี่ยนเงินตรา เราจึงไม่สามารถคัดลอกหรือย้ายสูตรที่อ้างอิงเซลล์ D10 ได้เลย เพราะจะทำให้ตำแหน่ง D10 ที่อ้างอิงในสูตรเปลี่ยนเป็นตำแหน่งอื่นและส่งผลให้ผลลัพธ์ที่คำนวณได้ผิดพลาด

เราสามารถใช้การอ้างอิงแบบ Absolute Addressing เพื่อแก้ไขปัญหานี้ โดยใช้เครื่องหมาย $ นำหน้าชื่อแถวหรือชื่อคอลัมน์ที่เราไม่ต้องการให้เปลี่ยน เช่น ถ้าต้องการให้สูตรอ้างอิงเซลล์ D10 แต่ไม่ต้องการให้แถวเปลี่ยนเมื่อสูตรถูกย้ายหรือคัดลอก ให้ใช้เครื่องหมาย $ นำหน้าเบอร์แถวเป็น D$10 และถ้าไม่ต้องการให้คอลัมน์เปลี่ยนให้ใช้ $D10 และในกรณีที่เราไม่ต้องการให้ทั้งแถวและคอลัมน์เปลี่ยน (ดังตัวอย่าง) ให้ใช้ $D$10 เมื่อสูตรคำนวณถูกคัดลอกหรือเคลื่อนย้ายจะได้ผลลัพธ์ที่ถูกต้องดังรูป

TIP

แทนที่จะต้องพิมพ์เครื่องหมาย $ ให้กดคีย์ ไปเรื่อยๆ เพื่อให้ Calc แสดงเครื่องหมาย $ หน้าชื่อแถบหรือชื่อคอลัมน์ที่เราไม่ต้องการให้เปลี่ยนได้ สำหรับการใช้เครื่องหมาย $ พอสรุปได้จากตัวอย่างต่อไปนี้

E$12 แถวไม่เปลี่ยนเมื่อคัดลอก

$E12 คอลัมน์ไม่เปลี่ยนเมื่อคัดลอก

$E$12 แถวและคอลัมน์ไม่เปลี่ยนเมื่อคัดลอก

สารบัญ[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]